
การเลิกบุหรี่ล้วนทำให้ผู้สูบบุหรี่ทุกช่วงอายุได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพเป็นอย่างมาก จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ปี 2564 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจึงี่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่ประมาณ 26.8% พยายามเลิกบุหรี่ตั้งแต่ 1 ครั้งถึง 5 ครั้งขึ้นไป อย่างไรก็ตามวิธีการเลิกบุหรี่แบบเดิมๆ ด้วยการหักดิบจากยาสูบและนิโคตินอาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูบบุหรี่จำนวนมาก โดยการหักดิบนี้ส่งผลให้ผู้สูบบุหรี่กลับมาสูบอีกครั้งแม้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพก็ตาม
เพื่อแก้ไขสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการให้นิโคตินแก่ผู้สูบบุหรี่ โดยไม่มีองค์ประกอบที่เป็นอันตรายอย่าง “ควันบุหรี่” ที่เกิดจากการเผาไหม้ของใบยาสูบสามารถป้องกันอันตรายส่วนใหญ่ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ได้ วิธีนี้เรียกว่าการลดอันตรายจากยาสูบ (Tobacco Harm Reduction) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ด้านสาธารณสุข เพื่อกำจัดองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดอันตรายและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ ตัดสินใจสูบบุหรี่ต่อไป เพื่อให้พวกเขาได้เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน
สารนิโคตินที่พบในยาสูบ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนสูบบุหรี่ แม้จะไม่ไร้ความเสี่ยง แต่นิโคตินก็ไม่ใช่สาเหตุหลักของโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ โดยสาเหตุหลักที่แท้จริงคือ “การเผาไหม้ของใบยาสูบ” ที่เกิดขึ้นเมื่อจุดบุหรี่ ก่อให้เกิดความเสี่ยงมหาศาลต่อสุขภาพ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็งปอด ดังนั้น การเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่ให้นิโคติน แต่ไม่มีการเผาไหม้ใบยาสูบจะช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญ
เพื่อพิสูจน์พบว่าวิธีลดอันตรายนี้มีประสิทธิภาพในการช่วยผู้สูบบุหรี่ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ผู้สูบบุหรี่หลายคนได้รับการแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินอื่นๆ เช่น หมากฝรั่งนิโคติน ถุงนิโคติน บุหรี่ไฟฟ้า หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ “พอด” รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน หรือ IQOS ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ ผลิตภัณฑ์ทางเลือกนอกจากการสูบบุหรี่เหล่านี้เรียกอีกอย่างว่าผลิตภัณฑ์ไร้ควัน (smokeless tobacco) เนื่องจากไม่มีการปล่อยควันพิษจากการจุดไฟเผามวนใบยาสูบ วิธีการดังกล่าวได้รับการยอมรับในด้านประสิทธิภาพ และถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสุขภาพและการควบคุมยาสูบในหลายประเทศ ที่มีเป้าหมายลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ และลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ที่มีต่อประชาชน
ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และฟิลิปปินส์ ล้วนเป็นประเทศที่มีอัตราการสูบบุหรี่สูงมาก ประเทศเหล่านี้กำลังดำเนินการควบรวมแนวทางการลดอันตรายจากยาสูบและผลิตภัณฑ์ไร้ควันชนิดต่างๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานควบคุมการบริโภคยาสูบ เพื่อปกป้องสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ สำหรับประเทศไทย ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” ช่วยเลิกบุหรี่หรือไม่ และทำไมยังไม่ถูกกฎหมายในปัจจุบัน
ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไร้ควันคือผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้ปราศจากควัน และเป็นอันตรายน้อยกว่าต่อผู้สูบบุหรี่ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถูกเรียกโดยหลายผลการศึกษาว่า “ผลิตภัณฑ์ลดความเสี่ยง” และถูกแนะนำให้ใช้เป็นตัวช่วยสำหรับผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่ ผู้ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ในทันที เพื่อให้พวกเขาได้ลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพลง การศึกษาโดย American College of Clinical Pharmacology อ้างถึงประสิทธิผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ไร้ควันแทนการสูบบุหรี่ว่าผู้สูบบุหรี่สามารถลดจำนวนบุหรี่มวนที่สูบต่อวันได้ด้วยการใช้บุหรี่ไฟฟ้า งานวิจัยอีกชิ้นจัดทำโดย King’s College London สรุปได้ว่าผู้สูบบุหรี่ที่ใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทน (NRT) หรือบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน มีความเป็นไปได้สูงกว่าที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับนิโคติน โดยไม่สูบบุหรี่อีกต่อไป
การเลิกบุหรี่และผลิตภัณฑ์นิโคตินอื่นๆ ดีที่สุด แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเลิกขาดนั้นไม่สามารถทำได้อย่างง่ายดายในทุกสถานการณ์ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่านิโคตินเป็นองค์ประกอบหลักของการลดอันตรายจากบุหรี่ โดยการลดและกำจัดสารพิษที่มีอยู่ในควันบุหรี่ผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทน (NRT) นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ไร้ควันที่ให้นิโคตินโดยปราศจากการเผาไหมเเป็นตัวช่วยที่ดีอย่างยิ่งสำหรับผู้สูบบุหรี่ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากศักยภาพของผลิตภัณฑ์ทางเลือกเหล่านี้ได้รับการยอมรับและนำไปใช้อย่างถูกต้องในแผนการควบคุมการสูบบุหรี่ เพื่อผลประโยชน์ทางสุขภาพอย่างสูงสุดของผู้สูบบุหรี่ทั่วโลก
ที่มา : https://dailytimes.com.pk/1015051/role-of-nicotine-in-public-health/
More Stories
เริ่มขั้นตอนเลิกบุหรี่ตั้งแต่ตอนนี้
จูล (JUUL) คืออะไร?