Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

กฎระเบียบในการแต่งกลิ่นในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า

ฟาร์ซาลินอสยื่นงานวิจัยถึงFDAเกี่ยวกับข้อเสนอการจัดทำกฎระเบียบในการแต่งกลิ่นในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า

ย้อนหลังไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วนะครับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ประกาศให้ทำข้อเสนอการจัดทำกฎระเบียบ (Advanced Notice of Proposed Rulemaking หรือ ANPRM) เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้วิจารณ์ออกความเห็น ให้ข้อมูล หรือส่งข้อเสนอได้เพื่อที่จะรวบรวมความคิดเห็นว่าจะทำการควบคุมน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าอย่างไรให้เหมาะสมที่สุดเพื่อที่จะได้ไม่ดึงดูดกลุ่มเยาวชนแต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถช่วยกลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่เลิกบุหรี่และหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า

ดร.คอนสแตนตินอส ฟาร์ซาลินอส นักวิจัยชื่อดังด้านแนวคิดการลดอันตรายจากยาสูบและต่อต้านการสูบบุหรี่จึงได้จัดทำงานวิจัยเพื่อตอบ ANPRM ซึ่งชี้ให้เห็นได้ว่ากลิ่นในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนช่วยในการเลิกบุหรี่ได้ โดยได้แสดงข้อมูลจากผลสำรวจกับคนกลุ่มใหญ่เกี่ยวกับกลิ่นในบุหรี่ ซึ่งคำถามในงานวิจัยถูกออกแบบโดยตัวเขาและ ดร.คริสโตเฟอร์ รัสเซล โดยเลือกกลุ่มคนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาก่อนมาร่วมตอบแบบสอบถาม ( แม้เคยลองเพียงครั้งเดียวก็ตาม )

โดยผลจากงานวิจัยออกมาสอดคล้องกับงานค้นคว้าวิจัยแบบ Peer review ก่อนหน้านี้ของศูนย์วิจัยการใช้สารเสพติดซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการลดอันตรายได้ระบุว่าการควบคุมการแต่งกลิ่นของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจะช่วยให้ผู้สูบบุหรี่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่พิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยกว่า (ซึ่งอาจช่วยชีวิตพวกเขาได้จากการเลิกบุหรี่) โดยงานวิจัยของ ดร. ฟาซิลินอส และ ดร. รัสเซล พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามทุกกลุ่มรวมถึงกลุ่มที่อยู่ในช่วงเลิกบุหรี่ต่างชอบน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีกลิ่นของยาสูบ ส่วนกลิ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือผลไม้ และขนมหวาน ทั้งนี้งานวิจัยนี้บ่งชี้ว่ากลิ่นเหล่านี้ไม่ได้มีความสำคัญเป็นพิเศษ หรือมีความดึงดูดต่อเยาวชนตามที่หลายคนกังวลไว้

การสำรวจนี้ยังสอดคล้องกับกับงานวิจัยในปี 2017 จากคณะสาธารณสุข แห่งมหาวิทยาลัยเยล และศูนย์นโยบายสาธารณสุข อิมพิเรียล คอลเลจ ลอนดอน ยังได้ชี้ชัดว่าการห้ามแต่งกลิ่นในบุหรี่ไฟฟ้าอาจส่งผลให้ผู้เคยสูบบุหรี่กลับมาสูบบุหรี่อีกก็ได้

อ่านเพิ่มเติมดูที่ Farsalinos Submits Study to FDA in Response to Flavours ANPRM

Click to rate this post!
[Total: 15 Average: 4.7]