
ผลการศึกษาบุหรี่ไฟฟ้าและ heat-not-burn ปี 2018 จาก Public Health England
สาธารณะสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England หรือ PHE) ได้เปิดเผยงานวิจัย และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์บุหรี่ที่ใช้ความร้อนประจำปี 2018 ซึ่งได้แบ่งหัวข้อเอาไว้อย่างละเอียด ทั้งในเรื่องของนโยบายบุหรี่ไฟฟ้า, นิโคติน, การใช้ของคนวัยต่างๆ, การเลิกบุหรี่ด้วยบุหรี่ไฟฟ้า, สารพิษ และอื่นๆ
งานวิจัยนี้เกิดขึ้นก็เพราะ ในอังกฤษเองก็มีผู้เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่เยอะไม่แพ้ประเทศอื่นๆ แต่จากนวัตกรรมของการสูบในปัจจุบันที่ได้เปลี่ยนไป มีการทำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การสูบบุหรี่ปลอดภัยขึ้นอย่างเช่นบุหรี่ไฟฟ้า หรืออีกประเภทคือ heat-not-burn ที่ใช้ระบบความร้อนมาอุ่นยาสูบแทนการเผา ทำให้ไม่เกิดพิษต่อร่างกายจากการเผาไหม้แต่ผู้สูบยังได้รับนิโคตินเหมือนกับการสูบบุหรี่
รายงานฉบับนี้จึงเหมือนเป็นหลักฐานงานวิจัยสำหรับอ้างอิง รวมไปถึงสถานการณ์และความเชื่อเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบัน และเพื่อทำความเข้าใจให้กับผู้ที่ยังไม่เข้าใจบุหรี่ไฟฟ้าได้ศึกษาเข้าใจนวัตกรรมใหม่อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น
นโยบายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในอังกฤษ
– ผู้ซื้อ และผู้ขายบุหรี่ไฟฟ้าจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
– บุหรี่ไฟฟ้า และนำยาที่มีส่วนผสมของนิโคตินจะต้องมีคำอธิบายข้อมูลต่างๆ ให้ชัดเจน และเข้าใจง่าย
– บุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีนิโคตินผสม จะถูกตีว่าเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดภัย
นิโคติน
– การใช้นิโคติน แล้วจะติดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้
– มีความเป็นไปได้ว่าการติดบุหรี่มวน เกิดขึ้นได้จากสารอื่นที่เกิดจากการเผาไหม้ ที่ไม่ใช่นิโคติน
– บุหรี่ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ให้นิโคตินทดแทน ที่อาจช่วยให้ผู้ติดบุหรี่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้
– การรับนิโคตินจากการสูบบุหรี่มวน และบุหรี่ไฟฟ้า มีผลต่อระบบของร่างกายและสุขภาพ แต่การรับนิโคตินด้วยวิธี Snus ของวัยรุ่นไม่พบความเสี่ยงมากขึ้น รวมไปถึงแม่ตั้งท้องที่ติดบุหรี่ แต่ใช้นิโคตินทดแทนยังไม่พบความเสี่ยงกับลูกอ่อนในครรภ์
– ผลกระทบระยะยาวจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าต่อปอด ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติม
การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชน
– เด็กต่ำกว่า 18 ปีซื้อไม่ได้ แต่พบการซื้อขายผ่านช่องทางอื่น เช่น ออนไลน์
– จากผลการศึกษาพบว่า บุหรี่ไฟฟ้า ไม่เป็นที่ต้องการของเยาวชนที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย
– ผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ใน UK แต่เคยลองบุหรี่ไฟฟ้า มีแนวโน้มที่อยากสูบบุหรี่มากกว่าคนที่ไม่เคยสูบเลย
การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในผู้ใหญ่
– การใช้บุหรี่ไฟฟ้าของผู้ใหญ่ใน UK มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นราว 6%
– การใช้ของผู้ที่ไม่เคยสูบมีอัตราต่ำมาก น้อยกว่า 1% หรือเทียบเท่ากับบุคคลที่ใช้นิโคตินทดแทน
– ผู้ที่ใช้ทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวน 2 อย่าง มีจำนวนพอๆ กันกับผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าและผู้ใช้นิโคตินทดแทน
– ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ส่วนใหญ่มีอัตราการใช้ทุกวัน และใช้ติดต่อกันมากกว่า 6 เดือน
– รุ่นที่เป็นที่นิยมคือแบบที่มีส่วนใส่ของเหลว
– ตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคม 2017 ปริมาณนิโคตินในน้ำยาถูกจำกัดที่ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร
– รสชาติที่เป็นที่นิยม คือ รสผลไม้ (29%), รสบุหรี่ (27%), และมินท์ (25%)
– ร้านบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีหน้าร้าน ได้รับความนิยมมากกว่าร้านออนไลน์
– เหตุผลที่ผู้ใช้เลือกใช้บุหรี่ไฟฟ้า เหตุผลส่วนใหญ่จะเพื่อเลิกบุหรี่มวน และมีอัตราเลิกได้สำเร็จสูง
ผลกระทบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่มวน
– ผู้ติดบุหรี่สามารถเลิกสูบได้ด้วยบุหรี่ไฟฟ้าในอังกฤษในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 มีอัตราสูงมากที่สุด
– บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้มีผู้เลิกบุหรี่มวนได้ 57,000 ต่อปี
– การใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างเดียว หรือใช้ร่วมกับยาเพื่อเลิกบุหรี่ในช่วงแคมเปญเลิกบุหรี่ Stop Smoking Service มีส่วนช่วยในการเลิกบุหรี่ได้
สารพิษและความปลอดภัยของบุหรี่ไฟฟ้า
– มีเคสเกี่ยวกับผู้บาดเจ็บจากการสัมผัสน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าใน UK เช่นกันแต่ก็เป็นจำนวนน้อย ส่วนใหญ่เป็นการโดนที่ดวงตา และผิวหนัง
– อันตรายที่เกิดขึ้นตามรายงานบอกว่าเกิดขึ้นจากผู้ใช้ทำตัวเอง
– เคสที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นอันตรายระดับต่ำ ส่วนเคสที่มีอันตรายถึงชีวิตถือว่ามีอยู่น้อยมาก
– ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ แต่ป้องกันได้โดยวางไว้ให้ไกลมือเด็ก
– แบตเตอรี่ที่ชำรุดของบุหรี่ไฟฟ้า อาจทำให้เกิดประกายไฟได้
– การระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้า ก็เคยเกิดขึ้นเช่นกัน แต่ก็ถือว่าน้อยมาก และสาเหตุหลักมักเกิดจากแบตเตอรี่ทำงานผิดปกติ
ความเสี่ยงต่อสุขภาพ
– ความเสี่ยงโรคมะเร็งของการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 0.5% เท่านั้น
– ความเสี่ยงด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคปอดยังไม่มีผลรับรอง แต่มีแนวโน้มต่ำกว่าการสูบบุหรี่มวนอย่างมาก เนื่องจากเคยมีการศึกษาผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าสองราย พบว่าความเสี่ยงในระดับต่ำเทียบเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่
– บุหรี่ไฟฟ้าสามารถปล่อยสาร Aldehydes ได้ หากใช้ความร้อนที่สูงเกินไป แต่ก็จะทำให้รสชาติไม่ดี
– จากหลักฐานในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงจากสารรสชาติที่ใส่ลงไปในน้ำยา แต่การสูดดมอาจเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้
– ระดับโลหะในละอองจากบุหรี่ไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญ
– ยังไม่พบผู้ได้รับอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าในลักษณะของผู้สูบมือสอง
ความเชื่อของคนในปัจจุบันเกี่ยวกับอันตรายจากนิโคติน, บุหรี่ไฟฟ้า, และการสูบบุหรี่มวน
– ผู้สูบบุหรี่เพียง 50% เชื่อว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน
– หนึ่งในสามของผู้สูบบุหรี่ยังไม่เคยลองบุหรี่ไฟฟ้า
– ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่และผู้ที่เลิกได้แล้ว จะไม่คิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะสามารถทำให้สุขภาพดีขึ้นได้
– เพียงครึ่งหนึ่งของผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมดเชื่อว่า การบำบัดทดแทนนิโคตินเป็นอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่
– มีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของนักสูบวัยผู้ใหญ่ เข้าใจถูกต้องว่าอันตรายจากการสูบบุหรี่ไม่ใช่แค่นิโคติน และ 4 ใน 10 คนคิดผิดว่านิโคตินเป็นสาเหตุของมะเร็งจากบุหรี่
– ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับนิโคตินและมะเร็งมีมากขึ้นในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
ราคาของบุหรี่ไฟฟ้า
– ราคาบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีความแตกต่างกันแล้วแต่ที่ ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าออนไลน์จะมีราคาถูกกว่า
– ราคาในช่วงเดือนสิงหาคม 2015 จนถึง กรกฎาคม 2017 ค่อนข้างคงที่แล้ว
บุหรี่ไฟฟ้าประเภทใช้ความร้อนแทนการเผา (heat-not-burn หรือ hnb)
– กลางปี 2017 บุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนแทนการเผาไฟหาซื้อได้ใน 27 ประเทศ และมีแผนจะขยายไปมากกว่านี้
– บุหรี่ประเภทนี้ มี 3 บริษัทใหญ่ๆ เป็นผู้ผลิต 1. IQOS จาก Philip Morris International, 2. glo จาก British American Tobacco และ 3. Ploom TECH จาก Japan Tobacco International
– การใช้บุหรี่ hnb ให้นิโคตินสูงถึง 70-84% เมื่อเทียบกับบุหรี่มวน
– hnb ให้นิโคตินมากกว่าบุหรี่ไฟฟ้าที่มีรูปแบบเหมือนบุหรี่มวน แต่ให้น้อยกว่าบุหรี่ไฟฟ้าที่มีที่ใส่น้ำยา
– ระดับนิโคตินในผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ hnb ต่ำกว่าผู้สูบบุหรี่มวนเสมอ
– hnb ให้ฟิลลิ่งการสูบควันของผู้สูบใกล้เคียงกับบุหรี่มวนมากกว่า จึงอาจช่วยให้ผู้ติดบุหรี่เปลี่ยนมาใช้ hnb ได้ง่ายกว่า
– บุหรี่ไฟฟ้าประเภท hnb ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น ประเทศซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าแบบน้ำยาถูกห้ามขาย
อ่านบทความฉบับเต็ม
More Stories
แนวทางการลดความเสี่ยงในการควบคุมยาสูบ
จากการศึกษาพบว่าไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ได้รับนิโคตินจากบุหรี่ไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นผู้ที่สูบบุหรี่มวนได้
นิโคตินคืออะไร กับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร