
ถึงแม้บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนจะให้สารนิโคตินแก่ร่างกาย และมีความเข้าใจกันอย่างแพร่หลายว่า นิโคติน มีผลกระทบกับการทำงานของสมองจึงเป็นสาเหตุให้สังคมกังวลว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้ผู้ใช้อยากเปลี่ยนไปสูบบุหรี่แทน ในปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จากหลากหลายประเทศค้นพบว่า ไม่มีหลักฐานชิ้นใดที่บ่งชี้ให้เห็นถึงการที่เวเปอร์ (Vapers) หรือผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ทั้งที่เป็นแบบทั่วไปและบุหรี่ไฟฟ้าตัวเล็ก หรือที่ในไทยนิยมเรียกว่า “พอด”) และ Heated Tobacco (ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน ที่ให้ความร้อนกับใบยาสูบแต่ไม่เผาไหม้ เช่น IQOS) จะเปลี่ยนจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาสูบบุหรี่มวนแทน ซึ่งค้านกับทฤษฎีที่เผยแพร่โดยกลุ่มรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้
การศึกษาค้นคว้าในปี 2017 พบว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลให้อัตราการสูบบุหรี่มวนลดลงในหลายประเทศ แต่จากการศึกษาค้นคว้าโดย Shu-Hong Zhu และนักวิจัยคนอื่นๆ ระบุว่ายังไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าการสูบบุหรี่ที่ลดลงนั้นเกิดจากการแทรกแซงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การใช้บุหรี่ไฟฟ้า
“อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราการสูบบุหรี่ทั้งในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้ลดลงต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย และอัตราการเลิกบุหรี่มวนที่ให้นิโคตินจากการเผาไหม้ก็เพิ่มสูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การเพิ่มภาษีและแคมเปญรณรงค์ด้านสาธารณสุข ด้วย”
ผลการศึกษาเหล่านี้ปรากฏชัดเจนในกฎหมายของประเทศฟิลิปปินส์ โดยพบในมาตราพระราชบัญญัติสาธารณรัฐหมายเลข 11900 หรือพระราชบัญญัติระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สารนิโคตินระเหย ที่เป็นกฎหมายเพื่อควบคุมการนำเข้า การผลิต การขาย บรรจุภัณฑ์ การจำหน่าย การใช้และการสื่อสารของผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า
กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านสุขภาพที่สูงสุดในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า ผลการสำรวจล่าสุดในสหราชอาณาจักรไม่สนับสนุนแนวคิดที่ว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประตูสู่การสูบบุหรี่มวน
Action on Smoking and Health-United Kingdom ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านการสูบบุหรี่ ได้อ้างถึงผลการสำรวจคนหนุ่มสาวในสหราชอาณาจักร ช่วงอายุระหว่าง 11-16 ปี ระหว่างปี 2015 ถึง 2017 พบว่า “กลุ่มคนในช่วงอายุดังกล่าวส่วนใหญ่ที่ทดลองบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินไม่ได้กลายเป็นผู้ใช้ประจำ เป็นเพียงแค่การทดลองหรือเคยลองใช้เท่านั้น”
“และไม่มีหลักฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มจำนวนผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มคนช่วงอายุดังกล่าว ซึ่งในความเป็นจริงจำนวนผู้สูบบุหรี่ของคนกลุ่มนี้ลดลงตั้งแต่บุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาสู่ตลาด” ASH UK กล่าว
จากข้อมูลสถิติของการวิเคราะห์อนุกรมเวลา ซึ่งมีทีมวิจัยนำโดย Emma Beard ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ระหว่างปี 2007 – 2018 ในสหราชอาณาจักร พบว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนหนุ่มสาวอายุ 16-24 ปี
การศึกษาในปี 2022 โดยนักวิจัยจาก University of Bristol นำโดย Lionw Shahab กล่าวว่า “จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยตรวจสอบข้อมูลแบบ Triangulated data เปรียบเทียบบริบทของประชากรมาวิเคราะห์ทางพันธุกรรมระดับบุคคล และการสร้างแบบจำลอง พบว่าข้อโต้แย้งว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนเป็นผู้สูบบุหรี่มวนและรับนิโคตินจากการเผาไหม้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ ยังเร็วเกินไปที่จะตัดผลกระทบอื่นๆ ออกไป”
More Stories
การใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจช่วยเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ในผู้สูบบุหรี่ที่ไม่ได้วางแผนจะเลิก
การใช้บุหรี่ไฟฟ้าร่วมกับการสูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายมากเท่ากับการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว
คุณควรสูดไอเข้าไปหรือไม่ในขณะที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ?