นิโคตินทดแทน เป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดนิโคตินจากใบยาสูบนำมาเป็นผลิตเป็นยาในรูปแบบต่างๆ เพื่อชดเชยนิโคตินในเลือดให้มีเพียงพอที่จะป้องกันอาการถอนยาหลังจากผู้สูบเริ่มเข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ โดยบทความนี้จะอธิบายถึงที่มาและหลักการทำงานของผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนครับ
ทำไมผู้สูบบุหรี่ถึงติดบุหรี่
ผู้สูบบุหรี่เสพติดบุหรี่เนื่องจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ การเสพติดสารนิโคติน การเสพติดทางอารมณ์และจิตใจ การเสพติดทางพฤติกรรมและสังคม และความเคยชิน เช่น ระหว่างการดื่มชากาแฟ หรือสังสรรค์ในวงเหล้า ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ข้อนั้นมีผลมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน
ทำไมหลายๆคนจึงเลิกสูบบุหรี่ไม่ได้
การเลิกบุหรี่ส่งผลดีทั้งต่อร่างกาย จิตใจ การเงิน และสังคม อย่างไรก็ตามมีผู้สูบบุหรี่เพียง 70% เท่านั้นที่ต้องการจะเลิก และมีเพียง 50% เท่านั้นที่ได้เข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีมีน้อยกว่า 10% ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้นานเป็นปี โดยหนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้หรือกลับมาสูบบุหรี่ เพราะผู้สูบบุหรี่เกิดอาการถอนยา หรือขาดนิโคติน (nicotine withdraw) และการอยากบุหรี่ (craving) อย่างรุนแรง
การถอนยา หรือ ขาดนิโคตินจะเกิดขึ้นภายใน 2 ชั่วโมงหลังหยุดสูบหรือลดการสูบบุหรี่ และจะรุนแรงมากขึ้นภายใน 1 – 2 วัน อาการจะยังคงอยู่ได้นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ในขณะที่อาการอยากบุหรี่รุนแรงอาจอยู่ได้นานถึง 6 เดือน
ตัวช่วยสำหรับการเลิกบุหรี่
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อยู่ 2 กลุ่ม คือ นิโคตินทดแทน (Nicotine Replacement Therapy) และ ยาลดอาการอยากบุหรี่
นิโคตินทดแทน (Nicotine Replacement Therapy)
นิโคตินทดแทนเป็นผลิตภัณฑ์ที่สกัดนิโคตินจากใบยาสูบนำมาเป็นผลิตเป็นยาในรูปแบบต่างๆ เพื่อชดเชยนิโคตินในเลือดให้มีเพียงพอที่จะป้องกันอาการถอนยาหลังจากผู้สูบเริ่มเข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนมีรูปแบบ และช่องทางจำหน่ายที่แตกต่างกันดังนี้
การจากศึกษาพบว่ารูปแบบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนให้ผลในการบำบัดไม่แตกต่างกัน ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในระยะยาวได้เป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับยาหลอก อย่างไรก็ตามการใช้นิโคตินไม่ได้รับความนิยมมากนัก อีกทั้งอัตราความสำเร็จเมื่อใช้จริงไม่เกิน 10% เนื่องจาก
- ปริมาณและความเร็วของนิโคตินที่เข้าสู่สมองน้อยและช้ากว่านิโคตินจากบุหรี่ ทำให้ผู้สูบไม่ได้รับความพึงพอใจ
- ความยุ่งยากในการคำนวณปริมาณหมากฝรั่ง หรือ จำนวนแผ่นแปะที่ต้องใช้เนื่องจากผู้สูบแต่ละคนติดบุหรี่และใช้สูบจำนวนมวนที่แตกต่างกัน
- หมากฝรั่งนิโคติน มีการเคี้ยวที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัว กล่าวคือ ค่อยๆ เคี้ยวช้าๆ จนกระทั้งได้รสเผ็ด เมื่อได้แล้วให้หยุดเคี้ยวแล้วเก็บหมากฝรั่งไว้ที่กระพุ้งแก้ม แล้วจึงเริ่มเคี้ยวใหม่เมื่อรสเผ็ดหมดไป การใข้หมากฝรั่งต้องตรงตามเวลาที่กำหนด ไม่ควรใช้เมื่อต้องการ และไม่ควรกลืนน้ำลายเพราะนิโคตินอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดก่อนและหลังเคี้ยว 15 – 30 นาที
ยาลดอาการอยากบุหรี่
ยาในกลุ่มนี้ไม่ส่วนประกอบของนิโคติน แต่ออกฤทธิ์ในสมองลดอาการถอนยา หรือ ตัดวงจรการติดนิโคติน โดยปัจจุบันมี 3 ตัว และการออกฤทธิ์แตกต่างกันออกไปในรายละเอียด กล่าวคือ
- Varenicline ออกฤทธิ์ที่ตัวรับนิโคตินในสมอง ผ่าน 2 กลไกหลักคือ จับกับตัวรับนิโคติน ทำให้สมองยังคงรู้สึกเหมือนกับการได้รับสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่ จึงช่วยลดอาการถอนยาลงได้ และอีกหนึ่งกลไกคือแย่งที่ ป้องกันไม่ให้นิโคตินมาจับกับตัวรับนิโคติน ซึ่งถือเป็นการตัดวงจรการติดบุหรี่
- Bupropion ปกติใช้เป็นยารักษาโรคซึมเศร้า ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสารท(domapine และ norepinephrine) ส่งผลให้มีส่วนช่วยในการลดอาการหงุดหงิด และ อาการถอนยาจากการหยุดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ Bupropion ยังยับยั้งที่ตัวรับนิโคตินในสมอง ทำให้นิโคตินไม่สามารถมาจับได้ เป็นการตัดวงจรการติดบุหรี่
- Nortriptyline ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการดูดกลับของสารสื่อประสารท (norepinephrine และ serotonin) ส่งผลให้ช่วยลดการถอนยา
อย่างไรก็ตามการใช้ยาลดอาการอยากบุหรี่ ยากที่จะหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียง เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ง่วงนอน และมีข้อห้ามในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งราคาแพง เช่น ราคาของ Varencline 1 เม็ดเท่ากับ บุหรี่ 1 ซอง