Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

ไม่ใช่ภาคการเมืองแต่เป็นภาควิทยาศาสตร์ที่ควรเป็นฝ่ายกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับนิโคติน

Source: Science not politics: https://www.insidesources.com/science-not-politics-should-set-nicotine-regulation/

ไม่ใช่ภาคการเมืองแต่เป็นภาควิทยาศาสตร์ที่ควรเป็นฝ่ายกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับนิโคติน

โพสต์ลงคอลัมน์การเมือง วันที่ 28 ตุลาคม 2563 โดยไมเคิล แมคเกรดี

เมื่อพูดถึงการออกกฎระเบียบควบคุมการสูบบุหรี่และผลิตภัณฑ์นิโคติน ประชาชนต้องการข้อมูลตามหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ข่าวที่ทำให้ตกใจกลัว ที่กล่าวมาคือผลการสำรวจล่าสุดของผู้ใหญ่กว่า 19,000 คนใน 19 ประเทศ ที่เผยแพร่โดยฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล (PMI)

ผลการสำรวจพบว่าผู้คนต้องการให้รัฐบาลตัดสินใจโดย “อ้างอิงตามหลักวิทยาศาสตร์” เมื่อต้องแก้ปัญหาที่ท้าทายอย่างเช่นการยุติการเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ หรือการพยายามขยายการเข้าถึงผลิตภัณฑ์นิโคตินไร้ควัน และ 77 เปอร์เซ็นต์ของผู้ร่วมการสำรวจกล่าวว่าพวกเขา “หวังว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะแก้ปัญหาใหญ่ ๆ มากมายของสังคมได้”

ผู้ตอบแบบสำรวจต่างก็มีทัศนคติเชิงบวกกับนโยบายที่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจเกือบครึ่งหนึ่งยังขาดความเชื่อถือ โดยประมาณ 47 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าสังคมไม่ได้ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์อย่างเพียงพอเสมอไป ในขณะที่มุมมองอีกฝั่งหนึ่ง 51 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่า “รัฐบาลของตนทำงานได้ดีแล้วในการดำเนินการให้แน่ใจว่ากระบวนการตัดสินใจของตนเองนั้นเป็นไปตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และหลักฐาน”

“ความท้าทายเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ของประชาชนเป็นอุปสรรคต่อการให้ความสำคัญอันดับหนึ่งแก่วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น” ดร. มอยรา กิลคริสต์ หัวหน้าฝ่ายสื่อสารวิทยาศาสตร์ทั่วโลกของ PMI กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า “เมื่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้นั้นมีไม่เพียงพอ ผู้คนอาจหวั่นไหวไปกับข้อมูลผิด ๆ การเดาสุ่มและคำบอกเล่า ซึ่งล้วนขัดขวางความสามารถในการตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่ครบถ้วน”

ดร. กิลคริสต์กล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงถึงความรู้สึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นิโคตินไร้ควัน PMI จัดทำแบบสำรวจนี้เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลของผู้บริโภคที่สามารถสนับสนุนความเชื่อของตนที่ว่าองค์กรควบคุมยาสูบทั่วโลกนั้นเริ่มดันทุรังยึดตามกฎเกณฑ์เพื่อสนับสนุนนโยบายของตัวเองมากขึ้น รัฐบาลทั้งหลายจึงใช้วาระการต่อต้านการสูบบุหรี่อย่างรุนแรงผ่านกฎเกณฑ์ที่ดันทุรังดังกล่าว

แม้ว่าจะไม่ได้บริสุทธิ์ผุดผ่องเพราะบุหรี่และการสูบบุหรี่นั้นมีประวัติที่อันตรายร้ายแรง แต่ PMI ในฐานะองค์กรผู้มีบทบาทนั้นได้ลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2551 เพื่อให้บริษัทค่อย ๆ เปลี่ยนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบเผาไหม้ได้ในที่สุด ดร.กิลคริสต์กล่าวว่าในปี 2019 เงินทุนวิจัยและพัฒนาของบริษัทจำนวน 98 เปอร์เซ็นต์ มุ่งเน้นไปที่การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไร้ควัน เธอระบุว่าแนวโน้มนี้จะไม่เปลี่ยนไปในหลายปีข้างหน้านี้

“เมื่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้นั้นมีไม่เพียงพอ ผู้คนอาจหวั่นไหวไปกับข้อมูลผิด ๆ การเดาสุ่มและคำบอกเล่า ซึ่งล้วนขัดขวางความสามารถในการตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่ครบถ้วน” ดร.กิลคริสต์กล่าว

จากมุมมองของผลิตภัณฑ์ PMI เป็นหนึ่งในบริษัทแรก ๆ ในโลกที่ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน IQOS ของบริษัท ได้รับการจัดหมวดหมู่ให้เป็นผลิตภัณฑ์แบบปรับลดความเสี่ยง องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) สามารถจัดหมวดหมู่ให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือผลิตภัณฑ์นิโคตินเป็นแบบปรับลดความเสี่ยงที่ได้รับการพิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วว่ามีความเสี่ยงต่ำกว่าอันตรายที่เกิดจากบุหรี่

IQOS ซึ่งเป็นระบบที่ให้ความร้อนยาสูบเพื่อสร้างไอแทนควัน ถือเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบสูดดมชนิดแรกที่ได้รับการจัดหมวดหมู่จาก FDA ให้อยู่ในประเภทนี้

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจของ PMI ช่วยให้เราทราบถึงความรู้สึกของผู้บริโภคที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ อเล็กซ์ คลาร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสมาคมสนับสนุนผู้บริโภคเพื่อทางเลือกไร้ควันพบว่าผลการสำรวจดังกล่าวช่วยเปิดเผยให้เราได้เห็นข้อมูล

“การเปิดเผยที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งจากการสำรวจนี้ก็คือขอบเขตการรับรู้และความเป็นจริงของผู้คน ซึ่งทราบว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้” คลาร์กกล่าวในอีเมล “เมื่อคนธรรมดาไม่สามารถตรวจสอบแหล่งข้อมูลด้วยตัวเองได้ เราก็จะได้รับแต่ข้อมูลที่ขึ้นอยู่กับอคติของผู้ที่รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือส่งเสริมประเด็นนี้”

อุตสาหกรรมการบุหรี่ไฟฟ้าของสหรัฐฯ พ้นกำหนดการยื่นขออนุญาตจำหน่ายยาสูบก่อนวางตลาดไปแล้วเมื่อวันที่ 9 กันยายน ผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งหมด รวมถึงบุหรี่ไฟฟ้าจะต้องได้รับการอนุญาตจาก FDA ก่อนออกจำหน่ายในตลาด

มีใบยื่นคำร้องหลายพันฉบับถูกส่งเข้าไปยังศูนย์ผลิตภัณฑ์ยาสูบขององค์การ และการอนุญาตของ FDA สำหรับอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นไปอย่างล่าช้ามาก

การสำรวจของ PMI ระบุถึงเหตุผลเพิ่มเติมว่าเหตุใดผู้บริโภคที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจึงควรได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาใช้ คลาร์กเชื่อเหมือนกับดร. กิลคริสต์ ว่า

การกำหนดนโยบายควรส่งเสริมให้มีการแบ่งปันข้อมูลกับทั้งผู้บริโภคและนักวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

คลาร์กกล่าวเสริมว่า “การขาดความใส่ใจนี้ได้สร้างสภาพแวดล้อมที่นักเคลื่อนไหวสามารถใช้งานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยที่ “ได้รับการตรวจสอบจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในระดับเดียวกัน” เป็นอาวุธในการโจมตีอีกฝ่ายหนึ่งโดยเจตนา แม้ว่าบ่อยครั้งข้อสรุปของผู้เขียนจะไม่มีข้อมูลรองรับก็ตาม”

เกี่ยวกับผู้เขียน

ไมเคิล แมคเกรดี

ไมเคิล แมคเกรดี เป็นผู้ร่วมวิจัยอาคันตุกะในการวิจัยเกี่ยวกับนโยบายการลดอันตรายจากยาสูบและยาเสพติดสถาบันผู้บริโภคอเมริกัน เขาเขียนบทความนี้ให้กับ InsideSources.com

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 5]