Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

บุหรี่ไฟฟ้าจดสิทธิบัตรมากถึง 36% ของสิทธิบัตรประเภทผลิตภัณฑ์ทางเลือกทดแทนการสูบบุหรี่

ที่มา: https://ecigintelligence.com/vaping-products-make-up-36-of-patent-applications-for-alternatives-to-smoking/

 

การจดสิทธิบัตรของผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกนั้นได้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากบริษัทยาสูบหลายแห่งได้หันมาสนับสนุนแนวทางการสร้างสังคมปลอดบุหรี่ โดยการจดสิทธิบัตรนั้นเพิ่มขึ้นถึง 9.1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

จากข้อมูลการทำวิจัยของมูลนิธิเพื่อสังคมปลอดควันบุหรี่ ที่ดำเนินการโดย OxFirst ที่ปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาของสหราชอาณาจักร ระบุว่า ในระหว่างปี 2553-2563 มีการยื่นจดสิทธิบัตรแนวการลดอันตรายจากยาสูบจำนวน 73,758 รายการ

รายงานการจดสิทธิบัตรระบุว่าสิทธิบัตรส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนจำนวน30,432 รายการ หรือนับเป็น 41% ของทั้งหมด รองลงมาคือบุหรี่ไฟฟ้าจำนวน 26,540 รายการ

หรือ 36% และส่วนที่เหลืออีก 16,786 รายการ หรือ 23% คือผลิตภัณฑ์ไร้ควันประเภทอื่นๆ

 

สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 9.1% ต่อปี ส่วนสิทธิบัตรสำหรับผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนเพิ่มขึ้น 4.1% ในขณะที่สิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ไร้ควันอื่นๆ เพิ่มขึ้นเพียง 1.1%

 

นักวิจัย โรยา คาเฟเล กล่าวว่า “นี่เป็นข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเพราะแสดงให้เห็นจริง ๆ ว่าอุตสาหกรรมนี้กำลังมีการพัฒนาที่ดี และพวกเขามีสองทางเลือกคือล้าหลังไปตามกาลเวลาหรือเลือกที่จะพัฒนาตัวเองให้ทันยุคสมัย ซึ่งเห็นได้ชัดแล้วว่าพวกเขาเลือกที่จะพัฒนา”

 

“ประเทศจีนมีสัดส่วนเกือบ 27% ของสิ่งพิมพ์สิทธิบัตรทั้งหมด รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาที่ 24%” คาเฟเล กล่าว

 

 

โรงงานยาสูบของประเทศจีน (China National Tobacco) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีรัฐบาลจีนเป็นเจ้าของมีสิทธิบัตรมากที่สุดในทั้งสามประเภท

โดยเน้นที่ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนเป็นหลัก ตามมาด้วย Philip Morris International (PMI), British American Tobacco (BAT) และ Chinese e-cigarette company Kimree Technology

Riccardo Polosa จากมหาวิทยาลัย Catania คาดว่าการเร่งให้มีการยื่นจดสิทธิบัตรจะดำเนินต่อไป เนื่องจาก “ผู้ประกอบการกำลังทำงานอย่างหนักและสร้างสรรค์เพื่อเสนอทางเลือกใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ยาสูบ” เขาสรุปว่า เทรนด์นี้จะเติบโตขึ้นเพราะนี่คือหัวใจของนวัตกรรม หลังจากหลายทศวรรษที่ซบเซาของผลิตภัณฑ์เช่น บุหรี่และยาสูบแบบเคี้ยวได้ (Chewable tobacco) มันเหมือนกับการเริ่มต้นใหม่ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายล้าสมัยไม่ช้าก็เร็ว

 

อย่างไรก็ตาม Louise Ross ประธานชั่วคราวของ New Nicotine Alliance กล่าวกับ

Ecig Intelligence ว่า “การต่อต้านการใช้ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าและแรงกดดันทางการเมืองจะส่งผลแง่ลบต่อสิทธิบัตรสำหรับผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกและถ้าผมเป็นผู้ผลิต ผมจะไม่เสี่ยงกับมันในตอนนี้”

 

แนวคิดการใช้ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้านั้นไม่ได้เป็นอะไรที่ใหม่แต่อย่างใด โดย Joseph Robinson จากนิวยอร์ก ได้รับสิทธิบัตรเกี่ยวกับ “Electric Vaporizer” ในปี 1930 แม้ว่าไม่เคยได้ออกสู่ตลาดเลย

Herbert Gilbert จากเพนซิลเวเนีย ได้สร้างอุปกรณ์ที่คล้ายกับบุหรี่ไฟฟ้าสมัยใหม่และได้รับสิทธิบัตรในปี 1965 แต่อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็ไม่เคยเข้าสู่ตลาดพาณิชย์

 

ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้ารุ่นแรกในเชิงพาณิชย์ ซึ่งอาศัยการระเหยของนิโคติน ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 1979 แต่ต้องรอจนกระทั่งช่วงทศวรรษ 1990 ที่การจดสิทธิบัตรของผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกเริ่มเฟื่องฟู ถึงเริ่มเป็นที่รู้จัก

 

โดยผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จทางการค้าครั้งแรกถูกสร้างขึ้นในกรุงปักกิ่งในปี 2003 โดยเภสัชกรและนักประดิษฐ์ชื่อว่า Hon Lik ผู้ซึ่งสูบบุหรี่หนักและสูญเสียคุณพ่อไปด้วยโรคมะเร็งปอด ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าเปิดตัวครั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาในปี 2006 และในอีกไม่กี่ปีต่อมา ก็ได้มีการขอจดสิทธิบัตรของผลิตภัณฑ์ยาสูบทางเลือกขึ้น

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 5]