
ที่มา: https://vaping360.com/learn/countries-where-vaping-is-banned-illegal/
ทัศนคติของทางการในแต่ละประเทศที่มีต่อการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์นิโคตินนั้นแตกต่างกันไป อย่างในสหราชอาณาจักร หน่วยงานด้านสุขภาพของรัฐบาลเลือกที่จะสนับสนุนการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพราะที่ผ่านมาการสูบบุหรี่ได้สร้างภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมากให้กับระบบบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร และการที่ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะช่วยให้ประเทศประหยัดงบประมาณลงได้
แต่ในขณะเดียวกัน หลายประเทศทั่วโลกก็มีการอนุญาตให้มีการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีการกำกับควบคุม แต่กลับไม่ค่อยกระตือรือร้นในเชิงปฏิบัติ ตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา องค์การอาหารและยา หรือ FDA ที่มีอำนาจในการกำกับดูแลบุหรี่ไฟฟ้าแต่กลับใช้เวลาถึง 8 ปีในการสร้างระบบการกำกับดูแลที่สามารถใช้งานได้จริง หรืออย่างแคนาดา ที่ปฏิบัติตามแบบแผนของสหราชอาณาจักรในระดับหนึ่ง แต่ก็เหมือนกับในอเมริกาที่รัฐต่าง ๆ นั้นมีอิสระในการกำหนดกฎเกณฑ์ของตนเอง ซึ่งบางครั้งก็ขัดแย้งกับเป้าหมายของรัฐบาลกลางทำให้นโยบายไม่ไปในทางเดียวกัน
และในปัจจุบันนี้มีกว่า 40 ประเทศทั่วโลกที่ยังคงมีการห้ามใช้บุหรี่ไฟฟ้าในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นห้ามการใช้ ห้ามการขาย ห้ามนำเข้าหรือทั้งหมด ในบางประเทศการใช้บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายอย่างสิ้นเชิง ทั้งการขายและการครอบครอง โดยการสั่งห้ามลักษณะนี้พบมากที่สุดในเอเชีย ตะวันออกกลางและอเมริกาใต้ ส่วนการสั่งห้ามผลิตภัณฑ์นิโคตินที่เป็นที่กล่าวถึงกันมากที่สุดคือที่ประเทศออสเตรเลีย หรือบางประเทศที่ตัวกฎหมายค่อนข้างซับซ้อนชวนให้สับสนอย่างญี่ปุ่น ที่การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย แต่น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีนิโคตินจะถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนอย่าง IQOS นั้นถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
ทั้งนี้การติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายเกี่ยวกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่เราพยายามทำตอนนี้ก็คือการรวบรวมข้อมูลโดยสรุปว่าแต่ละประเทศมีการห้ามหรือข้อจำกัดที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ที่มีนิโคตินอย่างไรบ้าง ขอบอกไว้ก่อนว่าข้อมูลนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่ต้องการเดินทาง เพราะหากคุณจะเดินทางไปประเทศที่ไม่คุ้นเคย ก็ควรตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เชื่อถือได้ เช่น สถานทูต หรือสำนักงานการท่องเที่ยวของประเทศนั้น ๆ จะได้ไม่พลาดทำผิดกฎหมาย
ทำไมบางประเทศถึงสั่งห้ามการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
องค์การอนามัยโลก (WHO) และงานส่วนควบคุมยาสูบอันได้แก่กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) องค์กรสนธิสัญญาระดับโลกที่มีประเทศสมาชิกมากกว่า 180 ประเทศได้สนับสนุนให้มีการจำกัดและสั่งห้ามบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ที่ผลิตภัณฑ์ยุคแรกสุดเริ่มเข้ามาในยุโรปและประเทศแถบสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2550 โดยองค์การอนามัยโลกเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจโน้มน้าวและมักมีอิทธิพลมากที่สุดต่อนโยบายด้านสุขภาพและนโยบายการสูบบุหรี่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศยากจนที่องค์การอนามัยโลกให้ทุนสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจำนวนมาก
ส่วน FCTC เองก็ได้รับการกำกับดูแลโดยที่ปรึกษาจากองค์กรต่อต้านการสูบบุหรี่ในอเมริกา เช่น โครงการรณรงค์เพื่อเด็กปลอดบุหรี่ (Campaign for Tobacco-Free Kids) แม้ว่าสหรัฐฯ จะไม่ได้เป็นภาคีของสนธิสัญญาเองก็ตาม และการที่กลุ่มเหล่านี้ต่อต้านการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ลดความเสี่ยงจากยาสูบชนิดอื่น ๆ จึงเป็นจุดยืนที่ FCTC นำมาใช้ ซึ่งมีผลลัพธ์ที่น่ากลัวสำหรับผู้สูบบุหรี่ในหลายประเทศ โดย FCTC ได้ให้คำแนะนำแก่ประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ให้ห้ามหรือควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเข้มงวด แม้ว่าเอกสารการก่อตั้งสนธิสัญญาจะระบุว่าหลักการลดอันตรายเป็นกลยุทธ์ที่ควรนำไปใช้ในการควบคุมยาสูบก็ตาม
ประเทศส่วนใหญ่พึ่งพาการจำหน่ายยาสูบและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำหน่ายบุหรี่เพื่อให้มีรายได้จากภาษี ในบางประเทศเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการเลือกที่จะห้ามหรือจำกัดผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อรักษารายได้จากยาสูบ แต่ในบางประเทศรัฐบาลก็เลือกที่จะเหมาบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในกฎข้อบังคับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ ซึ่งทำให้การกำหนดโทษทางภาษีแก่ผู้บริโภคทำได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่นอินโดนีเซีย ที่เรียกเก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้าถึง 57 เปอร์เซ็นต์ เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังอธิบายว่าจุดประสงค์ของการจัดเก็บภาษีดังกล่าวคือ “เพื่อจำกัดการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้า”
ประเทศไหนบ้างที่มีการจำกัดหรือห้ามใช้บุหรี่ไฟฟ้า ?
กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำ รายชื่อประเทศดังต่อไปนี้จึงอาจไม่แน่นอนครบถ้วน เพราะถึงแม้ว่าจะมีองค์กรผู้สนับสนุนการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอยู่ทั่ว แต่ก็ยังไม่มีพื้นที่เก็บข้อมูลส่วนกลางสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าทั่วโลก ข้อมูลต่อไปนี้จึงเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากแหล่งที่มาหลายแหล่ง ได้แก่ – รายงานการลดอันตรายจากยาสูบทั่วโลก (Global State of Tobacco Harm Reduction) ซึ่งจัดทำโดยเครือข่ายสนับสนุนการลดอันตรายของอังกฤษ (British harm reduction advocacy organization Knowledge-Action-Change) – เว็บไซด์ของโครงการรณรงค์เพื่อเด็กปลอดบุหรี่ (Campaign for Tobacco-Free Kids) – เว็บไซต์การควบคุมยาสูบทั่วโลก (Global Tobacco Control) ที่จัดทำโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮอปกินส์
ซึ่งบางประเทศดังต่อไปนี้มีทั้งประเทศที่มีการห้ามการใช้ ห้ามขายแบบเด็ดขาด มีการห้ามเฉพาะผลิตภัณฑ์นิโคตินหรือมีส่วนผสมของนิโคตินเท่านั้น และในหลายประเทศกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าก็ถูกละเลย ซึ่งหากประเทศไหนไม่อยู่ในรายการ บุหรี่ไฟฟ้า ประเทศนั้นอาจได้รับอนุญาตหรือมีการกำกับควบคุม หรือไม่มีกฎหมายเฉพาะที่กำกับควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ณ ตอนนี้
ทั้งนี้เรายินดีรับฟังข้อมูลใหม่ ๆ เสมอ ดังนั้นหากคุณทราบถึงการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศที่เรานำเสนอต่อไปนี้ ได้โปรดคอมเมนต์บอกและเราจะอัปเดทข้อมูลให้ถูกต้อง
ประเทศที่การใช้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย แต่การซื้อ-ขายนั้นผิดกฎหมาย
· สหรัฐอเมริกา : ใช้และขายได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหลังวันที่ 8 สิงหาคม 2016 หากไม่ได้รับคำอนุญาตทาง การตลาดจาก FDA ซึ่งยังไม่มีบริษัทบุหรี่ไฟฟ้าแห่งใดยื่นขอคำอนุญาตทางการตลาดนี้ ในวันที่ 9 กันยายน 2020 การขายผลิตภัณฑ์ที่ออกมาก่อนปี 2016 ซึ่งยังไม่ได้ยื่นขออนุญาตทางการตลาดจะถือว่าผิดกฎหมาย
· แอนติกาและบาร์บูดา
· อาร์เจนตินา
· บราซิล
· โคลอมเบีย
· เม็กซิโก
· ปานามา
· ซูรินาม
· อุรุกวัย
· มอริเชียส
· ยูกันดา
· เซเชลส์
· ภูฏาน
· บรูไน
· เนปาล
· ศรีลังกา
· เติร์กเมนิสถาน
· อียิปต์
· ตุรกี
· อิหร่าน
· คูเวต
· เลบานอน
· โอมาน
ประเทศที่การใช้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย แต่การขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนิโคตินนั้นผิดกฎหมาย
· นิคารากัว
· ญี่ปุ่น : การขายน้ำยาที่มีส่วนผสมของนิโคตินนั้นผิดกฎหมาย แต่บุคคลสามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของนิโคตินโดยมีข้อจำกัดบางประการ โดยผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน(HTP) เช่น IQOS ถือว่าถูกกฎหมาย
· มาเลเซีย
· ออสเตรเลีย การครอบครองหรือขายนิโคตินถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายหากไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ แต่ยกเว้นในรัฐหนึ่ง (รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย) เท่านั้นที่สามารถขายอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ประเทศที่บุหรี่ไฟฟ้าผิดกฎหมาย
· ไทย : เป็นที่ทราบกันดีว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นถูกแบนมาตั้งแต่ปี 2557 ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้กำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งมีเหตุการณ์รุนแรงหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึงการควบคุมตัวนักท่องเที่ยวที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าโดยระบุว่าเป็นการนำเข้า
· กัมพูชา
· ติมอร์ตะวันออก
· อินเดีย
· เกาหลีเหนือ
· เมียนมาร์
· สิงคโปร์
· นครรัฐวาติกัน
· กาตาร์
ประเทศที่อนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในฐานะผลิตภัณฑ์ยา
· ชิลี : การขายผิดกฎหมาย ยกเว้นเมื่อได้รับอนุญาตในฐานะผลิตภัณฑ์ยา
· เวเนซุเอลา : ใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เชื่อว่าการขายนั้นผิดกฎหมาย ยกเว้นเมื่อได้รับอนุญาตในฐานะผลิตภัณฑ์ยา
ประเทศที่ไม่มีกฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
· บังกลาเทศ : ปัจจุบันนี้บังกลาเทศไม่มีกฎหมายหรือระบบข้อบังคับที่เจาะจงสำหรับบุหรี่ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม 2019 เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขกล่าวกับรอยเตอร์ว่า “รัฐบาลกำลังทำงานอย่างแข็งขันเพื่อกำหนดคำสั่งห้ามการผลิต นำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าและยาสูบแบบไอระเหยทุกชนิดเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพ”
More Stories
แนวทางการลดความเสี่ยงในการควบคุมยาสูบ
นิโคตินคืออะไร กับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
การเปลี่ยนแปลงตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของ Juul และ Vuse ลดลง