Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

ผลการศึกษาเผยนโยบายแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติอาจนำวัยรุ่นไปสู่การสูบบุหรี่

ที่มา: https://news.yale.edu/2021/05/25/ban-flavored-vaping-may-have-led-teens-cigarettes-study-suggest

เมื่อปี 2018 หลังจากที่มาตรการแบนผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบมีรสชาติ รวมไปถึงบุหรี่มวนรสเมนทอลและบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติทุกชนิดได้รับอนมุติ หลังจากได้รับเสียงช้างมากจากประชาชนชาวซานฟรานซิสโก มาตรการดังกล่าวทำให้บรรดาผู้สนับสนุนด้านสาธารณสุขพากันเฉลิมฉลองหลังจากที่ต้องสู้รบกับศัตรูตัวสำคัญอย่างยาสูบที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนและปัญหาผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบมีรสชาติที่ดึงดูดใจเยาวชน

แต่การศึกษาใหม่จาก Yale School of Public Health (YSPH) พบว่ากฎหมายดังกล่าวอาจให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม เพราะจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าหลังจากออกมาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติ จำนวนนักเรียนมัธยมปลายที่สูบบุหรี่มวนในเขตการศึกษาซานฟรานซิสโกก็ได้เพิ่มขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับเขตการศึกษาที่ไม่มีการห้ามดังกล่าว

การศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Pediatrics เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2021 ว่ากันว่านี่เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ได้ทำการศึกษาและประเมินว่ามาตรการสั่งแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติส่งผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนอย่างไร

อบิเกล ฟรีดแมน (Abigail Friedman) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านนโยบายสุขภาพของ YSPH ผู้เขียนงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า

“ผลการวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องระมัดระวังในการออกกฎหมายหรือมาตรการต่างๆ การไม่สูบบุหรี่หรือไม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเลยคือวิธีที่ปลอดภัยต่อสุขภาพที่สุด ผลการศึกษาที่มีอยู่จนถึงปัจจุบัน ชี้ว่าอันตรายจากการสูบบุหรี่ ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้การเสียชีวิตของผู้ใหญ่เกือบหนึ่งในห้าคนต่อปี แต่ถ้ากฎหมายซึ่งถูกนำบังคับใช้ด้วยเจตนาดีที่ต้องการจะลดการสูบบุหรี่ แต่กลายเป็นการทำให้เยาวชนหันมาสูบบุหรี่กันมากขึ้นก็อาจเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนได้”

ศาสตราจารย์ อบิเกล ฟรีดแมน ได้ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนมัธยมปลายที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จากระบบเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชน 2011-2019และพบว่าอัตราการสูบบุหรี่ในช่วง 30 วันก่อนที่จะมีมาตรการสั่งแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติในซานฟรานซิสโกและเขตการศึกษาที่ใช้เปรียบเทียบมีความใกล้เคียงกันและมีแนวโน้มที่จะลดต่ำ แต่เมื่อมีการบังคับใช้มาตรการแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติอย่างสมบูรณ์ในปี 2019 อัตราการสูบบุหรี่ของเยาวชนในซานฟรานซิสโกก็แตกต่างไปจากแนวโน้มเดิม ในขณะที่อัตราการสูบบุหรี่ของเขตเปรียบเทียบลดลงอย่างต่อเนื่อง”

เพื่ออธิบายผลลัพธ์เหล่านี้ ศาสตราจารย์ อบิเกล ฟรีดแมน ได้ตั้งข้อสังเกตว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่เยาวชนของสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ โดยศาสตราจารย์ อบิเกล ฟรีดแมน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เด็กบางคนเลือกบุหรี่ไฟฟ้าแทนที่จะเลือกบุหรี่มวนก็เพราะรสชาติ เช่นเดียวกับกับผู้สูบบุหรี่ที่อยากเปลี่ยนมาเป็นผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า พวกเขามีความชอบเหมือนๆ กัน การแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติอาจลดแรงจูงใจหลักของพวกเขาในการเลือกใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนการสูบบุหรี่ และอาจเป็นการผลักดันให้บางคนเลือกกลับไปสูบบุหรี่แบบเดิม ๆ ”

 

 

การค้นพบนี้มีนัยสำหรับรัฐคอนเนตทิคัตที่ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งรัฐกำลังพิจารณาร่างกฎหมายสองฉบับ ได้แก่ร่างพระราชบัญญัติ 6450 ที่จะห้ามการขายบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติและร่างรัฐบัญญัติวุฒิสภา 326 ที่จะห้ามการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบมีรสชาติทุกประเภท และตามที่สำนักงาน

คณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่าจะสั่งแบนผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบเผาไหม้ที่มีการปรุงแต่งรสชาติทั้งหมดภายในปีหน้า ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ก็อาจส่งผลให้คอนเนตทิคัตมีการแบนบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีรสชาติอย่างเด็ดขาดเหมือนในซานฟรานซิสโก

ทั้งนี้การศึกษาในซานฟรานซิสโกนั้นก็มีข้อจำกัด เนื่องจากเพิ่งมีการบังคับใช้คำสั่งแบนในช่วงเวลาสั้น ๆ จึงอาจมีแนวโน้มที่แตกต่างกันในปีต่อ ๆ ไป และซานฟรานซิสโกก็เป็นเพียงหนึ่งในหลายเมืองและหลายรัฐที่มีการแบนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ ซึ่งแต่ละที่ก็อาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของกฎหมายดังนั้นอาจได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน

ข้อจำกัดทำนองนี้ยังคงมีอยู่ทั่วประเทศ ผลการวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายต้องระวังการออกนโยบายที่เป็นการผลักไสเยาวชนไปหาบุหรี่มวนทางอ้อม

เป็นที่น่าสนใจว่า การที่ประเทศไทยแบนบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อน “ไอคอส” ซึ่งในหลายประเทศยอมรับให้เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนการสูบบุหรี่ได้ จะเป็นการผลักไสให้ผู้สูบบุหรี่และเยาวชนในประเทศไทยยังคงต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการเผาไหม้ซึ่งเป็นอันตรายแทนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดความเสี่ยงที่ปราศจากการเผาไหม้ อย่าง บุหรี่ไฟฟ้า

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]