
R STREET
Free markets. Real solutions.
การศึกษานโยบายของ R STREET หมายเลข 225 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564
การสร้างแบบจำลองผลกระทบต่อการสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้นจากการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายในประเทศไทย
โดย อเลค อูลาเซวิช
สารบัญ
- บทนำ 1
- การลดอันตรายจากยาสูบ 3
- การควบคุมและการใช้ยาสูบในประเทศไทย 4
- แบบจำลอง 5
- แบบจำลองตามสภาพการณ์ปัจจุบัน 6
- แบบจำลองเชิงบวก 6
- แบบจำลองเชิงลบ 6
- ตัวแปรเสริมของแบบจำลอง 6
- ผลลัพธ์ 8
- บทสรุป 10
- เกี่ยวกับผู้เขียน 11
บทนำ
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ภูมิทัศน์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบได้เปลี่ยนไปเนื่องจากการนำบุหรี่ไฟฟ้า (E-cigarettes) เข้ามาใช้ และล่าสุดยังรวมถึงอุปกรณ์ให้ความร้อนแต่ไม่เผาไหม้อีกด้วย แรงผลักดันส่วนหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือเพื่อเสนอทางเลือกทดแทนบุหรี่แบบเผาไหม้ที่มีส่วนช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่ ในความเป็นจริงแล้ว จากการพิจารณาตรวจสอบของสาธารณสุขอังกฤษได้ประเมินว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่แบบเผาไหม้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์1 ในทำนองเดียวกัน องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) เพิ่งกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ให้ ความร้อนแต่ไม่เผาไหม้ที่เรียกว่า IQOS ของบริษัทฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล (PMI) ถือเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบ แบบปรับลดความเสี่ยง ดังนั้นจึงถือเป็นการยอมรับว่าผลิตภัณฑ์ IQOS มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่แบบเผาไหม้2
___________________________________________________
1. สาธารณสุขอังกฤษ “บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่ายาสูบประมาณ 95% จากการประเมินตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน” ข่าวประชาสัมพันธ์ 19 สิงหาคม 2015
2. FDA “FDA อนุญาตให้ระบบการให้ความร้อนแก่ยาสูบ IQOS สื่อสารกับผู้บริโภคด้วยข้อมูลเกี่ยวกับการลดการสัมผัสกับสารเคมีอันตราย” ข่าวประชาสัมพันธ์ 7 กรกฎาคม 2020
อันตรายระดับต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่ผลิตภัณฑ์ยาสูบนั้นมีบุหรี่แบบเผาไหม้ที่จัดว่าเป็นระบบการบริโภคนิโคตินที่อันตรายที่สุด และระบบบริโภคนิโคตินแบบทางเลือก (ANDS) แบบใหม่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนแต่ไม่เผาไหม้ ที่จัดว่ามีอันตรายน้อยกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนผู้สูบบุหรี่ที่ไม่สามารถเลิกหรือไม่เต็มใจที่จะเลิกบุหรี่ให้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายน้อยกว่านี้จะส่งผลดีต่อสุขภาพของประชากรโดยรวมในระยะยาว จากการสร้างแบบจำลองผลกระทบของการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าของผู้สูบบุหรี่ในสหรัฐอเมริกา การศึกษาชิ้นหนึ่งได้สรุปว่าการเปลี่ยนจากบุหรี่ ไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าในระยะเวลา 10 ปี จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรให้ประชากรได้มากกว่า 1.6 ล้านคน3 งานวิจัยที่คล้ายกันรายงานว่าผู้สูบบุหรี่ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจมีอายุยืนขึ้นอีกสองปี และการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะลดอัตราการเสียชีวิตโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ได้4
แม้ว่าการศึกษาเหล่านี้จะอ้างอิงมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา แต่การวิเคราะห์ที่นำเสนอในเอกสารฉบับนี้เป็นแบบจำลองของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 44 ประเทศที่สั่งห้ามการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์สูบไออื่น ๆ ในปัจจุบัน4 ซึ่งต่างจากกรณีของสหรัฐอเมริกา
ดังนั้นบทความนี้จึงจำลองผลกระทบด้านสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้นจากการนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาใช้และการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย โดยอ้างอิงการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิและการทบทวนวรรณกรรมที่มีอยู่และมีความเกี่ยวข้อง
____________________
3. เดวิด เลวี และคณะ “การเสียชีวิตในสหรัฐอเมริกาที่อาจเปลี่ยนไปเนื่องจากการเปลี่ยนจากบุหรี่เป็นบุหรี่ไฟฟ้า” การควบคุมยาสูบ 27:1 (2018), หน้า 18-25.
httos://tobaccocontrol. bmi.com/content/27/1/18?hootPostID=7d20180aacfab6d7ff810e2733726e12&u tm_source=trendmd&utm_medium=cpc&utm_campaign=bmjopen&trendmd-shared=1&utm content=Journalcontent&utm term=TrendMDPhase4
4. เดวิด เมนเดซ และคณะ “ใช่ยาวิเศษหรือเปล่า? ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของบุหรี่ไฟฟ้าต่อจำนวนผู้สูบบุหรี่” การวิจัยนิโคตินและยาสูบ 2020
https.11academic.oup. com/ntrAdvance-article-abstract/doi/10.1093/ntr/ntaa160/5895499
การลดอันตรายจากยาสูบ (TOBACCO HARM REDUCTION)
มีหลักฐานว่าการเปลี่ยนจากบุหรี่แบบเผาไหม้ไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกในเชิงบวก ซึ่งอาจอธิบายถึงประโยชน์ในระดับประชากรที่รายงานโดยการศึกษาที่อ้างถึงข้างต้น ตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งรายงานว่ากลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้านั้นมีสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดที่ดีขึ้น6 การศึกษาอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าการได้รับสารก่อมะเร็ง ที่เป็นที่ทราบนั้นลดลงหรือมีการปรับปรุงในส่วนของตัวบ่งชี้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ในอดีต ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า7 ในทำนองเดียวกัน มีหลักฐานว่าการเปลี่ยนจากบุหรี่แบบเผาไหม้ไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยปรับปรุงผลการรักษาโรคหอบหืดให้ดีขึ้น8
นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมใหม่ ๆ ที่ระบุว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีอื่น ๆ9 ผู้เขียนบทวิจารณ์ฉบับหนึ่งได้วิเคราะห์ผลการวิจัยจากการศึกษา 50 ชิ้นใน 13 ประเทศที่มีผู้เข้าร่วมวิจัย 12,340 คน ซึ่งเปรียบเทียบอัตราการเลิกบุหรี่ด้วยบุหรี่ไฟฟ้ากับวิธีการเลิกยาสูบประเภทอื่น ๆ รวมถึง วาเรนิคลีน
(เช่น แชนทิกซ์) การบำบัดด้วยนิโคตินทดแทนและการให้คำปรึกษา10 จากผลการศึกษาโดยรวมของการศึกษาเหล่านี้ อัตราการเลิกบุหรี่ระยะ 6 เดือน คือมีผู้สูบบุหรี่ 10 เปอร์เซ็นต์เลิกได้จากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เทียบกับ 6 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้การบำบัดด้วยนิโคตินทดแทน และมีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ที่เลิกได้โดยไม่ได้รับการสนับสนุนหรือใช้แค่การเปลี่ยนพฤติกรรมเท่านั้น11
คำอธิบายที่เป็นไปได้ข้อหนึ่งที่ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเป็นเพราะต้นทุน ทางจิตวิทยาของการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า เช่น ความเพลิดเพลินส่วนตัวหรือในเชิงสังคมจากการสูบบุหรี่นั้นมีน้อยมาก แต่มีการรับรู้ถึงประโยชน์ในการลดอันตรายส่วนบุคคล
__________________
5. “การสั่งห้ามและกฎระเบียบเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า: สถานะทั่วโลก ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2020” ศูนย์ธรรมาภิบาลในการควบคุมยาสูบระดับทั่วโลก, 24 กุมภาพันธ์ 2002
https://qqtc. world/2020/02/24/e-cigarette-ban-regulation-global-status-as-of-february-2020
6. จาคอบ จอร์จและคณะ “ผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือดจากการเปลี่ยนจากบุหรี่ยาสูบไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า,” วารสาร American College of Cardiology 74:25 (พฤศจิกายน 2019), หน้า 3112-3120. httios://www.iacc.orci/doi/full/10.1016/i.iacc.2019.09.067
7. ดู ตัวอย่างเช่น ไลออน ชาฮับและคณะ “การได้รับนิโคติน สารก่อมะเร็งและสารพิษจากบุหรี่ไฟฟ้าในระยะยาวและผู้ใช้การบำบัดด้วยนิโคตินทดแทน: การศึกษา ณ ช่วงเวลาหนึ่ง (cross-sectional study)” บันทึกอายุรศาสตร์ 166:6 (2017), หน้า 390-400 https://www.acpiournals.oradoi/ abs/10.7326/M16-1107; ไมเคิล กอนีวิคซ์และคณะ “การสัมผัสกับนิโคตินและสารพิษบางชนิดในผู้สูบบุหรี่ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า: การศึกษาเชิงสังเกตในผู้ร่วมวิจัยระยะยาว,” การวิจัยนิโคตินและยาสูบ 19:2 (2017) หน้า 160-167. https://academic.ouo.com/ntr/article/19/2/160/2631650?loqin=true; ริคาร์โด โพโลซา และคณะ “ผู้สูบบุหรี่ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า: ผลลัพธ์ด้านสุขภาพเมื่อติดตามผล 5 ปี” ความก้าวหน้าในการรักษาโรคเรื้อรัง11 (2020) httos://iour-nals.sageoub.com/doi/full/10.1177/2040622320961617
8. ริคาร์โด โพโลซา และคณะ “ผลของการเลิกบุหรี่และการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่ป่วยโรคโรคหอบหืดที่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า: หลักฐานการผกผันอันตราย “วารสารนานาชาติด้านการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข 11:5 (2014), หน้า 4965-4977 https://www.mdpi.com/1660-4601/11/5/4965
9. เจมี ฮาร์ทแมนน์-บอยซ์ และคณะ “บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อการเลิกบุหรี่” BMJ 360 (2018) https://www.bmj.com/content/360/bmi.j5543
10. แหล่งอ้างอิงเดียวกัน
11. แหล่งอ้างอิงเดียวกัน
หลักฐานที่สนับสนุนประโยชน์ต่อสุขภาพต่อตัวบุคคลและต่อประชากรในการเปลี่ยนจากบุหรี่ที่เผาไหม้เป็นบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งหลักฐานที่แสดงว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพถือเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับ แนวทางการลดอันตรายจากยาสูบ (THR)12 เนื่องจากหลักการลดอันตรายจากยาสูบ (THR) ยอมรับถึงความต่อเนื่อง ของอันตรายในผลิตภัณฑ์ยาสูบ หลักการนี้จึงสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่วัยผู้ใหญ่ในปัจจุบันหันไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายน้อยกว่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การควบคุมยาสูบโดยรวม ตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นอุปกรณ์ช่วยเลิกบุหรี่และการต่าง ๆ ในเชิงสุขภาพนั้นยอมรับถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ระบบบริโภคนิโคตินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ENDS) แต่ระบุอย่างชัดเจนว่ามีความปลอดภัยมากกว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบเผาไหม้13 ในความเป็นจริง การผสานรวมหลักการลดอันตรายจากยาสูบ (THR) เข้ากับความพยายามในการควบคุมยาสูบโดยรวมอาจขยายผลของกลยุทธ์อื่น ๆ ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น การขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่อาจกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้
ทางเลือกที่เป็นอันตรายน้อยกว่าแทนที่จะพยายามหาผลิตภัณฑ์แบบเผาไหม้ที่ราคาต่ำกว่า เช่น บุหรี่แบบมวนเอง หรือเพิกเฉยต่อการขึ้นราคา
การควบคุมและการใช้ยาสูบในประเทศไทย
ในปัจจุบันการครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยอาจนำไปสู่การถูกปรับด้วยเงินจำนวนมากและกระทั่งจำคุก14 ในขณะเดียวกันประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเชิงรุกในการควบคุมยาสูบภายใต้กรอบ MPOWER ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งรวมถึงการตอบโต้การตลาด การขึ้นภาษีสรรพสามิต การจัดหาบริการเลิกบุหรี่และข้อจำกัดทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ยาสูบ15 จวบจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ดีจาก WHO โดยมีจุดอ่อนที่ระบุไว้มีแค่ในเรื่องของการลงทุนในโครงการเลิกบุหรี่และข้อจำกัดด้านการโฆษณา16
ในปัจจุบัน รายได้ภาษีที่ได้รับจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบร้อยละ 2 จะถูกจัดสรรให้กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งใช้จ่าย 6% (240 ล้านบาทไทยหรือประมาณ 120 ล้านดอลลาร์) ของงบประมาณประจำปีในการควบคุมยาสูบ17
________________
12. เอ็มเอ รัสเซลล์, “บุหรี่นิโคตินปานกลาง สารทาร์ต่ำ: แนวทางใหม่ในการสูบบุหรี่ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น” วารสารสารแพทย์บริติช 1:6023 (1976), หน้า 1430-1433. https://www.bmj.com/con-tent/1/6023/1430.short
13. “เรื่องสุขภาพ: เลิกบุหรี่ วิธีไหนได้ผล?”, สาธารณสุขอังกฤษ เข้าถึงล่าสุด 17 ก.ย. 2020 https://www.gov.uk/clovernment/publications/health-mat-ters-storming-smoking-what-works/health-matters-stopping-smoking-what-works
14. สถานเอกอัครราชทูตไทย, ลอนดอน, “การห้ามบุหรี่ไฟฟ้า,” ข่าวประชาสัมพันธ์, 28 สิงหาคม 2019 https://london.thaiembassv.orq/en/publicservice/86207-prohibition-of-e-cigare ttes?page=5d6636cel5e39c3bd000734d&menu=5d6636cd15e39c3bd00072e2
15. “MPower: ชุดนโยบายเพื่อพลิกผันการแพร่ระบาดของยาสูบ” องค์การอนามัยโลก, 2008 https://www.who.int/tobacco/mpower/mpower english.pdf
16. “ข้อมูลประเทศ: ไทย “ในรายงาน WHO ว่าด้วยการระบาดของยาสูบ, 2019, องค์การอนามัยโลก, 26 กรกฎาคม 2019 https://www.who.int/tobacco/surveillance/ policy/country profile/thajadf?ua=1
17. แหล่งอ้างอิงเดียวกัน
ในความพยายามที่จะควบคุมการใช้ยาสูบเพิ่มเติม รัฐบาลไทยได้ขึ้นภาษีบุหรี่แบบเผาไหม้ที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์หลายครั้ง อย่างไรก็ตาม การขึ้นภาษีส่วนใหญ่จะจำกัดอยู่แค่เฉพาะบุหรี่มากกว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบเผาไหม้ประเภทอื่น ๆ 18 แม้จะมีความพยายามในการควบคุมยาสูบอย่างสม่ำเสมอ แต่อัตราการสูบบุหรี่แบบเผาไหม้กลับหยุดนิ่ง จากข้อมูลการสำรวจในปี 2554 ถึง 2560 พบว่าอัตราการสูบบุหรี่ของประเทศไทยลดลงเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ (จาก 21 เปอร์เซ็นต์ เป็น 19 เปอร์เซ็นต์)19 อัตราที่แทบไม่เปลี่ยนแปลงนี้อาจเนื่องมาจากเครื่องมือและทางเลือกในการเลิกบุหรี่นั้น มีจำกัด
เนื่องจากการห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ ENDS ในประเทศไทย ผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่จึงมีวิธีบำบัดหรือผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนที่มีประสิทธิภาพให้เลือกเพียงไม่กี่ตัวเลือกเท่านั้น หากไม่มีทางเลือกในการเลิกบุหรี่ที่ทำได้จริงและราคาไม่แพง ผลจากการขึ้นภาษีสรรพสามิตอาจทำให้ผู้สูบบุหรี่หันไปหาแบรนด์ที่มีราคาต่ำกว่าหรือหันไปใช้บุหรี่แบบม้วนเอง ซึ่งไม่ได้เสียภาษีในอัตราเดียวกับบุหรี่ที่ผลิตจากโรงงาน20
อย่างไรก็ดี การนำผลิตภัณฑ์ ENDS เข้ามาในตลาดและการทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายในตลาด ของไทยจะเป็นทางเลือกให้กับผู้สูบบุหรี่ชาวไทยโดยเฉพาะผู้ที่ล้มเลิกความพยายามที่จะเลิกบุหรี่ด้วยวิธีการแบบเดิม ๆ หรือผู้ที่ไม่ต้องการเลิก จากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิของงานเขียนที่มีอยู่นั้นเราสามารถสันนิษฐานได้ว่าผู้สูบบุหรี่ แบบเผาไหม้บางรายจะเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าหากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้ามาในตลาดของไทย ซึ่งจะนำไปสู่ประโยชน์ ทางสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับประชากรโดยรวม ผลการศึกษาการสร้างแบบจำลองได้กล่าวถึงผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่เป็นไปได้จากการนำผลิตภัณฑ์ ENDS เข้ามาในตลาดและการทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมายในตลาดของไทย โดยมีรายละเอียดดังหัวข้อต่อไปนี้
แบบจำลอง
ผลลัพธ์ที่นำเสนอในที่นี้มาจากแบบจำลองที่ประเมินการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่เสียชีวิตในประเทศไทย หากมีการนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาสู่ตลาดในประเทศไทย การประมาณการขั้นสุดท้ายคือจำนวนชีวิตที่รักษาไว้หรือสูญเสีย ไปโดยรวมในระยะเวลา 10 ปี หลังจากที่บุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย แนวทางการวิเคราะห์นั้นดำเนินการตามการวิเคราะห์แบบจำลองชิ้นหนึ่งของสหรัฐอเมริกาอย่างละเอียด โดยมีการปรับเปลี่ยนหลายส่วนเพื่ออธิบายแหล่งข้อมูลและรูปแบบการใช้ยาสูบของประเทศไทยโดยเฉพาะ แบบจำลองนี้ระบุค่าประมาณของการเสียชีวิต 3 แบบ ได้แก่ แบบจำลองตามสภาพการณ์ปัจจุบัน แบบจำลองเชิงบวกและแบบจำลองเชิงลบ
____________________
18. “นโยบายภาษีผลิตภัณฑ์ยาสูบในประเทศไทย: หนทางข้างหน้า,” องค์การอนามัยโลก, 2011 https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/205961/B4732. pdf?seauence=1&isAllowed=y#:-:text=ln%201992%2C%20the%2Orate%20of,The%20 way%20forward%206%2Orespectively.
19. “อัตราการสูบบุหรี่ในประเทศไทย 2000-2021,” แนวโน้มในเชิงมหภาค, เข้าถึงล่าสุดเมื่อ 21 ก.พ., 2021 https://www.macrotrends.net/countries/THA/thailand/smoking-rate-statistics
20. รายการตารางสถิติ (พฤติกรรมการสูบบุหรี่),” สำนักงานสถิติแห่งชาติของประเทศไทย, เข้าถึงล่าสุดเมื่อ 29 ก.ย. 2020 http://web.nso.go.th/en/survev/health/data/ Cigarette Ful 14.pdf
แบบจำลองตามสภาพการณ์ปัจจุบัน
แบบจำลองตามสภาพการณ์ปัจจุบันสันนิษฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยในช่วงเวลา 10 ปี ดังที่แบบจำลองกำหนดไว้ โดยแบบจำลองนี้สันนิษฐานเพิ่มเติมว่าอัตราการเลิกบุหรี่และอัตราการเสียชีวิตเนื่องจาก การสูบบุหรี่จะคงที่ตลอดระยะ 10 ปี แบบจำลองตามสภาพการณ์ปัจจุบันจึงแสดงค่าประมาณการเปรียบเทียบสำหรับแบบจำลองที่สันนิษฐานว่ามีการนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาใช้ในประเทศไทย
แบบจำลองเชิงบวก
แบบจำลองเชิงบวกสันนิษฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกนำเข้าสู่ตลาดในประเทศไทย โดยมีข้อสมมติฐานหลัก 2 ข้อ ได้แก่ ข้อหนึ่ง อัตราการเปลี่ยนผ่านซึ่งหมายถึงอัตราที่ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะนำไปสู่การเลิกบุหรี่แบบเผาไหม้ โดยสิ้นเชิงภายในปี 2573 และข้อสอง บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายเท่ากับร้อยละ 5 ของบุหรี่แบบเผาไหม้ อัตราการเปลี่ยนแปลงของแบบจำลองเชิงบวกกำหนดไว้ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ในตอนเริ่มแรก ซึ่งหมายความว่าผู้สูบบุหรี่แบบเผาไหม้ ร้อยละ 10 จะเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าเมื่อเริ่มมีการนำเข้าสู่ตลาด การประมาณการความเสี่ยงของบุหรี่ไฟฟ้าอ้างอิง ตามการประเมินโดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ของอังกฤษ และสถาบันวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและการแพทย์แห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา21
แบบจำลองเชิงลบ
แบบจำลองเชิงลบสันนิษฐานว่าภายในปี 2573 อัตราการสูบบุหรี่แบบเผาไหม้จะอยู่ที่ร้อยละ 5 และอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะอยู่ที่ร้อยละ 5 เช่นเดียวกัน อัตราการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งเริ่มต้นที่ 7.1 เปอร์เซ็นต์ ดังที่กำหนดในแบบจำลองนี้ใกล้เคียงกับอัตราการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่รายงานในสหราชอาณาจักร22 นอกจากนี้ แบบจำลองนี้ยังสันนิษฐานด้วยว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายถึง 40 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับบุหรี่แบบเผาไหม้ ตัวเลข 40 เปอร์เซ็นต์ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นการยอมรับว่าผลกระทบด้านสุขภาพในระยะยาวของการใช้บุหรี่ไฟฟ้านั้นยังไม่เป็นที่ทราบกันดี
ตัวแปรเสริมของแบบจำลอง
แบบจำลองที่นำเสนอนี้ใช้จุดข้อมูลและจุดข้อมูลโดยประมาณเพื่อหาผลกระทบของการนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในตลาด ของไทย สิ่งเหล่านี้เรียกว่าตัวแปรเสริมของแบบจำลอง ตัวแปรเสริมส่วนใหญ่ได้รับการปรับเปลี่ยนซ้ำ ๆ ในแต่ละปี ของแบบจำลอง ตัวอย่างเช่น จำนวนผู้สูบบุหรี่ในแต่ละปีขึ้นอยู่กับอัตราการเลิกบุหรี่ อัตราประชากรโดยประมาณ และอัตราการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า จากนั้นจะใช้ค่าประมาณการสำหรับหนึ่งปีจะนำมาใช้ในการคำนวณประมาณการสำหรับปีถัดไป ตัวแปรเสริมที่สำคัญตัวแรกคือจำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทย
________________
21. กลุ่มที่ปรึกษาด้านยาสูบ, “นิโคตินแบบไม่มีควัน: การลดอันตรายจากยาสูบ” ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์, 28 เมษายน 2016 https://www.rcplondon.ac.uk/proiects/ outputs/nicotine-without-smoke-tobacco-harm-reduction; จูดิธ เจ. โพรชาสกา “ผลกระทบด้านสาธารณสุขของบุหรี่ไฟฟ้า: บทวิเคราะห์โดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ การเรียกร้องให้มีการวิจัยเพิ่มเติม ความจำเป็นในการดำเนินการด้านกฎระเบียบ” วารสาร Addiction 114:4 (2018), หน้า 587-589 https://onlinelibrarv.wilev.com/doi/ful1/10.1111/add.14478
22. “การใช้บุหรี่ไฟฟ้า (อุปกรณ์สร้างไอ) ในหมู่ผู้ใหญ่ในสหราชอาณาจักร” องค์กรรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (ASH), กันยายน 2018 https://frvapingpost.com/wp-content/ uploads/2018/10/ASH-Adult-e-cig-factsheet-2018-1.pdf
สำหรับการเริ่มต้นการวิเคราะห์ในปีแรก จำนวนผู้สูบบุหรี่ได้รับการประเมินจากข้อมูลที่มีอยู่และการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO)23 ความแพร่หลายของการสูบบุหรี่อยู่ที่ประมาณ 20.5 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อคาดการณ์จำนวน ผู้สูบบุหรี่ในแบบจำลองตามสภาพการณ์ปัจจุบัน ความแพร่หลายของการสูบบุหรี่แบบรายปีได้ถูกปรับเปลี่ยนตาม “อัตราการเลิกบุหรี่ที่แท้จริง” ซึ่งพิจารณาจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่เลิกบุหรี่และอัตราการเริ่มสูบบุหรี่ จากนั้นจะนำอัตรา ความแพร่หลายมาคูณด้วยจำนวนประชากรไทยตามที่คาดการณ์ไว้เพื่อประมาณจำนวนผู้สูบบุหรี่ต่อปี ซึ่งในแบบจำลองตามสภาพการณ์ปัจจุบัน จำนวนผู้สูบบุหรี่ทั้งหมดที่คาดการณ์ไว้คือผู้สูบบุหรี่แบบเผาไหม้24
แบบจำลองทั้งในเชิงบวกและเชิงลบได้ปรับจำนวนผู้สูบบุหรี่แบบเผาไหม้ตามอัตราการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าดังที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ แบบจำลองเชิงบวกกำหนดอัตราการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าให้เริ่มต้นที่ 10 เปอร์เซ็นต์ และแบบจำลองเชิงลบกำหนดไว้ที่ 7.1 เปอร์เซ็นต์ อัตราการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากอัตราการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าถูกคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้สูบบุหรี่แบบเผาไหม้ในปัจจุบันที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า อัตราการเปลี่ยนแปลงจึงปรับเปลี่ยนไปตามจำนวนผู้สูบบุหรี่ที่เหลืออยู่ในแต่ละปี ดังนั้นแบบจำลองทั้งเชิงบวกและเชิงลบจะแสดงให้เห็นจำนวนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าโดยประมาณ จำนวนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าโดยประมาณจะปรับเปลี่ยนไปตามอัตราการเลิกบุหรี่ที่กำหนดไว้ และจำนวนผู้ใช้บุหรี่ทั่วไปโดยประมาณ (เช่น คนที่ไม่เคยสูบแบบเผาไหม้มาก่อน แต่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า)
ตัวแปรเสริมที่สอง ได้แก่ อัตราการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่แบบเผาไหม้ในประเทศไทย ซึ่งจากการประมาณการขององค์การอนามัยโลกพบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 0.7125 โดยสันนิษฐานว่าอัตราการเสียชีวิตคงที่ตลอดระยะ 10 ปี จำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรในหมู่ผู้สูบบุหรี่จึงคำนวณได้โดยการคูณจำนวนผู้สูบบุหรี่โดยประมาณในแต่ละปีด้วย 0.71 อัตราการเสียชีวิตของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าตามแบบจำลองเชิงบวกถือว่าเท่ากับร้อยละ 0.5 ของอัตราการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่แบบเผาไหม้ (0.04) ในส่วนของแบบจำลองเชิงลบ อัตราการเสียชีวิตของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 40 ของอัตราการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่แบบเผาไหม้ (0.3) ดังนั้นจำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าจึงคำนวณได้โดยการคูณจำนวนผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าโดยประมาณด้วยอัตราการเสียชีวิตที่สันนิษฐานได้
___________________
23. รายงานทั่วโลกเกี่ยวกับแนวโน้มความแพร่หลายของการใช้ยาสูบระหว่าง 2000-2025 ของ WHO” องค์การอนามัยโลก 2019 https://www.who.int/publications/i/item/who-qlobal-report-on-trends-in-prevalence-of-tobacco-use-2000-2025-third-edition
24. สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “เอกสารรายละเอียด 2018: ประเทศไทย” องค์การอนามัยโลก 2018 https://aops.who.int/irisibitstream/handle/10665/272690/ wntd 2018 thailand fs.pdf?sequence=1
25. เจฟฟรีย์ โดรป และ เนล ดับเบิลยู. ชลูเกอร์, บรรณาธิการ, The Tobacco Atlas, Sixth Edition, (สมาคมมะเร็งอเมริกันและองค์กร Vital Strategies, 2018)
ตัวแปรเสริมที่สามในแบบจำลอง ได้แก่ อายุขัยที่ลดลงเนื่องจากการสูบบุหรี่ แต่เนื่องจากไม่มีข้อมูลที่เจาะจงของคนไทย เกี่ยวกับอายุขัยที่ลดลงเนื่องจากการสูบบุหรี่แบบเผาไหม้ ดังนั้นจึงมีการใช้ตัวเลขของสหรัฐอเมริกาที่รายงานโดย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (CDC) ซึ่งก็คืออายุขัยที่ลดลง 13.5 ปี26
ผลลัพธ์
ในแบบจำลองตามสภาพการณ์ปัจจุบัน อัตราการสูบบุหรี่จะอยู่ที่ 17.2 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2573 ในช่วงระยะ 10 ปี ประเทศไทยจะสูญเสียพลเมือง 782,445 คน เนื่องจากการสูบบุหรี่แบบเผาไหม้ โดยรวมแล้วหมายถึงการสูญเสียอายุขัยจำนวน 10,563,012 ปี
ในแบบจำลองเชิงบวก ผู้สูบบุหรี่ 369,223 คน จะเสียชีวิตในช่วงระยะ 10 ปี ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งหมายถึงการสูญเสียอายุขัยจำนวน 4,948,512 ปี โดยรวมแล้ว ภายใต้สมมติฐานของแบบจำลองเชิงบวกจะมีผู้เสียชีวิตน้อยลง 413,222 (หรือ 52 เปอร์เซ็นต์) และมีอายุขัยเพิ่มขึ้น 5,578,499 ปี
ในแบบจำลองเชิงลบ ซึ่งมีการตั้งสมมติฐานในเชิงอนุรักษ์นิยมมากขึ้นเกี่ยวกับอัตราการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าและสันนิษฐานว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่สูงกว่าโดยคาดการณ์ว่าอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ในระยะ 10 ปีจะอยู่ที่ 574,461 คน และอายุขัยทั้งหมดที่สูญเสียไปจะเท่ากับ 7,775,219 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึง การเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ที่ลดลง 26 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับแบบจำลองตามสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยมีคนไทยเสียชีวิตเนื่องจากการสูบบุหรี่น้อยลง 207,865 คน และมีอายุขัยเพิ่มขึ้น 2,807,793 ปี
แม้แต่ในสถานการณ์แบบเชิงลบซึ่งสันนิษฐานว่าอัตราการเปลี่ยนจากบุหรี่ไปใช้บุหรี่ไฟฟ้านั้นมีจำนวนน้อยและความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้านั้นสูงกว่าความเป็นจริง การนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทยจะส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่เพียงร้อยละ 26 ในช่วงระยะเวลา 10 ปี สถานการณ์ที่เป็นเชิงบวกมากกว่าได้แสดงให้เห็นว่าการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ลดลง 52 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากตัวแปรเสริมจำนวนมากในแบบจำลองได้รับการประมาณการและคาดการณ์ในอนาคต ผลลัพธ์ที่นำเสนอในที่นี้จึงควรได้รับการพิจารณาในเชิงอธิบายมากกว่าการคาดการณ์ เช่นเดียวกับแบบจำลองอื่นในประเภทนี้ ผลลัพธ์นี้อธิบายถึงสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นจากข้อมูลที่มีอยู่ แต่ผลลัพธ์ดังกล่าวก็สอดคล้องกับหลักฐานของแนวทางการลดอันตรายยาสูบ (THR) กล่าวคือบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพต่ำกว่าบุหรี่แบบเผาไหม้ และในความเป็นจริงคือมีส่วนช่วยให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ ประเด็นสำคัญคือการนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ได้
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน แบบจำลองที่พิจารณาถึงการดำเนินการด้านกลยุทธ์การควบคุมยาสูบที่ครอบคลุมตามสมมุติฐาน ซึ่งรวมถึงการขึ้นภาษีบุหรี่ในประเทศไทยปีละ 15 เปอร์เซ็นต์ การขยายขอบเขตเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่และ ความพยายามในการปกป้องเยาวชน คาดการณ์ว่าการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่ชายจะลดลงร้อยละ 4.5 ในระยะ 10 ปี27
_____________________
26. ศัลยแพทย์ใหญ่”ผลกระทบด้านสุขภาพจากการสูบบุหรี่ – ความก้าวหน้า 50 ปี: รายงานของศัลยแพทย์ใหญ่,” กระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา, 2014 http://citeseerx.ist.psu.edaviewdoc/summarv?doi=10.1.1.653.9865
27. Suchunya Aungkulanon et al., “ความแพร่หลายของการสูบบุหรี่และการเสียชีวิตเนื่องจากการสูบบุหรี่ในประเทศไทย: การคาดการณ์ผลลัพธ์ของการดำเนินการเพื่อควบคุมยาสูบในแบบต่าง ๆ,” BMC Public Health 19:984 (2019), หน้า1-11. https://doi.org/10.1186/s12889-019-7332-x
ผลลัพธ์แบบพอประมาณที่นำเสนอโดยแบบจำลองนี้อาจเป็นเพราะประสิทธิผลแท้จริงของแนวทางในการควบคุมยาสูบ ที่ค่อนข้างเป็นแบบดั้งเดิมนั้นได้มาถึงจุดอิ่มตัวเนื่องจากความแพร่หลายโดยรวมได้ลดลงแล้ว28 “การใช้แนวทางการลดอันตราย (THR) และการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกต้องตามกฎหมายอาจเป็นโอกาสใหม่เพื่อความก้าวหน้าของวาระ ด้านสาธารณสุขในการลดภาระที่เกิดจากการสูบบุหรี่และทำให้สุขภาพโดยรวมของคนไทยดีขึ้น
แน่นอนว่าการวิเคราะห์ที่นำเสนอนี้ใช่ว่าจะไม่มีข้อจำกัด ตัวอย่างเช่น แบบจำลองสันนิษฐานว่ามีอัตราการเลิกบุหรี่อย่างสม่ำเสมอตลอด 10 ปี ซึ่งเป็นข้อสมมติฐานที่ค่อนข้างท้าทายหากประเทศไทยใช้นโยบายควบคุมยาสูบที่เข้มงวดมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น แบบจำลองนี้ไม่ได้คำนึงถึงผลในเชิงบวกของบุหรี่ไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นกับการเลิกบุหรี่ ดังนั้นจึงอาจประเมินอัตราความแพร่หลายของการสูบบุหรี่ต่ำเกินไปและนำไปสู่ตัวเลขการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ นอกจากนี้การวิเคราะห์นี้ ยังสันนิษฐานว่าอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับยาสูบจะคงที่ ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานที่สมเหตุสมผลเว้นแต่จะมีการขยายการเข้าถึงการบำบัดรักษาในระดับสูงหรือการพัฒนาทางการแพทย์ที่ไม่เคยมีมาก่อน
ทั้งนี้ข้อจำกัดที่สำคัญยิ่งกว่าสำหรับแบบจำลองนี้อาจจะอยู่ที่การไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานแบบควบคู่กัน ซึ่งหมายถึง การใช้บุหรี่แบบเผาไหม้และบุหรี่ไฟฟ้าแบบควบคู่กัน การใช้ควบคู่กันมีแนวโน้มที่จะลดตัวเลขประมาณการการลดลง ของการเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม การที่แบบจำลองเชิงลบได้กำหนดความเสี่ยงของผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าไว้ค่อนข้างสูงกว่าระดับ 5 เปอร์เซ็นต์ ดังที่มีหลักฐานอ้างอิง จึงอาจกล่าวได้ว่าแบบจำลองเชิงลบนั้นคำนึงถึงผลเสียจากการใช้งานแบบควบคู่แล้ว
นอกจากนี้ เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย แบบจำลองจึงสันนิษฐานไว้ตั้งแต่ต้นว่าไม่มีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังไม่ทราบอัตราที่แท้จริงของการเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลักฐานว่าผลิตภัณฑ์นี้ผิดกฎหมาย แต่มีข้อมูลว่าเยาวชนไทยร้อยละ 3.3 เป็นผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า29 แม้ข้อมูลตัวเลขนี้จะออกมานาน อย่างน้อย 5 ปีแล้ว แต่ก็ส่งสัญญาณว่ามีความสนใจบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย
ความสำเร็จของการนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาใช้ในประเทศไทยจะขึ้นอยู่กับนโยบายการกำกับดูแลเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น ภาษีสรรพสามิตบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลให้ยอดขายบุหรี่ไฟฟ้าลดลง แต่ยอดขายบุหรี่แบบเผาไหม้ก็เพิ่มขึ้นพร้อมกันไปด้วย30 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความยืดหยุ่นของราคามีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดมากกว่าแบรนด์ที่เป็นที่ยอมรับมากกว่า ดังนั้นนโยบายเชิงปฏิบัติที่ต้องการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนก็จะเก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้าในอัตราที่ต่ำกว่าบุหรี่แบบเผาไหม้
______________
28. อเลค อูลาเซวิช และเชลซี บอยด์ “การสำรวจความแตกต่างของนโยบายเกี่ยวกับยาสูบระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทย” การศึกษานโยบาย R Street หมายเลข 208. กันยายน 2020 https://www.rstreetorq/2020/10/05/exploring-the-differences-in-tobacco-policv-between-the-united-kinqdom-and-thailand
29. ปานทิพย์ โชติเบญจมาภรณ์ และคณะ “การใช้ยาสูบของนักเรียนไทย: ผลจากการสำรวจการใช้ยาสูบของเยาวชนทั่วโลกปี 2015,” Indian Journal of Public Health, 61:5 (2017), หน้า 40 https://www.iiph.in/article.asp?issn=0019-557X:year=2017;volume=61:issue=5;spa ge=40;epage=46;aulast=Chotbenjamaporn
30. แชด คอนติและคณะ “ผลกระทบของภาษีบุหรี่ไฟฟ้าต่อราคาบุหรี่ไฟฟ้า และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ: หลักฐานจากข้อมูลคณะกรรมการค้าปลีก” เอกสารการวิจัยสำนักงานเศรษฐกิจแห่งชาติ หมายเลข. 26724, สิงหาคม 2020 https://www.nber.orq/ papers/w26724
การสั่งห้ามบุหรี่ไฟฟ้าที่ปรุงแต่งกลิ่นอาจลดอัตราการเปลี่ยนจากบุหรี่แบบเผาไหม้ไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้เช่นกัน เนื่องจาก มีหลักฐานบ่งชี้ว่าผู้สูบบุหรี่แบบเผาไหม้ได้ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าชอบผลิตภัณฑ์ที่ปรุงแต่งกลิ่น31 นอกจากนี้ผู้สูบบุหรี่ ที่เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าที่ปรุงแต่งกลิ่นนั้นมีโอกาสน้อยที่จะกลับมาสูบบุหรี่แบบเผาไหม้อีก32 แม้จะมีข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับบทบาทของผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าที่ปรุงแต่งกลิ่นว่าอาจดึงดูดให้เยาวชนเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว แต่กฎระเบียบที่จำกัดการเข้าถึงของเยาวชนด้วยการจำกัดเกณฑ์อายุผู้ซื้อและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับการจำหน่ายให้ผู้เยาว์ แสดงให้เห็นว่าระเบียบดังกล่าวมีประสิทธิผลในการควบคุมการใช้งานของเยาวชนโดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่ที่ต้องการเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แทนบุหรี่33
นอกจากนี้ยังควรมีการควบคุมการตลาดของบุหรี่ไฟฟ้าตามหลักฐานที่มีอยู่ แน่นอนว่าผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าไม่ควรได้รับอนุญาตให้อ้างถึงคุณสมบัติด้านสุขภาพโดยไม่มีเหตุผล ในทำนองเดียวกัน รัฐบาลไม่ควรกำหนดคำเตือนด้านสุขภาพโดยไม่มีเหตุผล เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่เด่นชัดว่าแม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่ได้ไร้ความเสี่ยง แต่ก็มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่แบบเผาไหม้อย่างมีนัยสำคัญ การตลาดของบุหรี่ไฟฟ้าควรได้รับอนุญาตให้มีการอ้างถึงคุณสมบัติในการปรับลดความเสี่ยง โดยระบุความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในขณะที่อนุญาตให้อ้างว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่แบบเผาไหม้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทำให้ผู้บริโภคชาวไทยตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น
บทสรุป
มีหลักฐานมากมายบ่งชี้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่แบบเผาไหม้ นอกจากนี้บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ ENDS จึงเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อนำมาใช้แทนการสูบบุหรี่แบบเผาไหม้ ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับปรุงสุขภาพของประชากรโดยรวมได้
จวบจนถึงปัจจุบัน ความพยายามในการควบคุมยาสูบในประเทศไทยหยุดชะงักลงโดยแสดงให้เห็นว่าความแพร่หลาย ของการสูบบุหรี่ลดลงเพียงเล็กน้อยต่อปีเท่านั้น การวิเคราะห์ที่นำเสนอในที่นี้พิจารณาถึงสถานการณ์สมมติจากการนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยและผลกระทบที่จะเกิดกับอัตราการเลิกบุหรี่และสุขภาพของประชาชน (ถ้ามี) โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าหากมองในแง่ดีที่สุด การนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้าสู่ตลาดจะนำไปสู่การลดอัตราการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ลง 52 เปอร์เซ็นต์ ทั้งจากการเปลี่ยนผู้สูบบุหรี่ในปัจจุบันให้หันไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าและจากการช่วยเร่งให้มีการเลิกใช้ยาสูบในภาพรวม การประมาณการที่เป็นในเชิงอนุรักษ์นิยมมากขึ้นแสดงให้เห็นว่ามีการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ลดลง 28 เปอร์เซ็นต์
_______________
31. คอนสแตนตินอส อี. ฟาซาลินอส และคณะ “ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของรสชาติที่มีต่อประสบการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้า: การสำรวจทางอินเทอร์เน็ต” วารสารนานาชาติด้านการวิจัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข 10:12 (ธันวาคม 2013), หน้า 7272-82 https://www.mdpi. com/1660-4601/10/12/7272
32. คริสโตเฟอร์ รัสเซลล์ และคณะ “การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของบุหรี่ไฟฟ้ารสชาติแรกที่ใช้และรสชาติปัจจุบันที่ใช้ โดยผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าวัยผู้ใหญ่ 20,836 คน ในสหรัฐอเมริกา” วารสาร Harm Reduction Journal 15:1 (2018), หน้า 1-14 Https://link.springer.corn/article/10.1186/ 512954-018-0238-6
33. เทเรซ่า ดับเบิลยู หวัง และคณะ “การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในหมู่นักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย — สหรัฐอเมริกา 2020,” รายงานการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตรายสัปดาห์ 69:37 (2020), หน้า 1310 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7498174
การประมาณการทั้งสองตัวอย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้สูบบุหรี่ที่ลดลงโดยประมาณหากมี การใช้นโยบายควบคุมยาสูบที่เข้มงวดมากขึ้นในประเทศไทย ดังนั้นผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกต้อง ตามกฎหมายในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะลดภาระจากการใช้ยาสูบและช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายด้านสาธารณสุขได้อย่างไรก็ตาม นโยบายที่มีหลักฐานสนับสนุนเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับเรื่องรสชาติของบุหรี่ไฟฟ้า ภาษีสรรพสามิตและการตลาด เหล่านี้ควรเกิดขึ้นพร้อมกับการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพของประชาชน
เกี่ยวกับผู้เขียน
อเลค อูลาเซวิช เป็นอดีตสมาชิกอาวุโสของทีมนโยบายการลดอันตรายของ R Street และทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ R Street ในการวิเคราะห์นโยบายด้านสาธารณสุขที่มีอยู่ รวมถึงสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลซึ่งส่งเสริมสุขภาพของประชากร
More Stories
แนวทางการลดความเสี่ยงในการควบคุมยาสูบ
นิโคตินคืออะไร กับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
การเปลี่ยนแปลงตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของ Juul และ Vuse ลดลง