
1. Q: บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงอื่นเป็นอันตรายหรือไม่?
A: สาธารณสุขอังกฤษ (PHE) ระบุในงานวิจัย “E-cigarette: An evidence update” ว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปลอดภัย 100% แต่เมื่อเปรียบเทียบกับบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้ามีปริมาณสารพิษที่น้อยกว่ามากและปลอดภัยกว่าบุหรี่มวนถึง 95% โดยนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่สารก่อมะเร็งและไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคร้ายแรงที่เกิดจากการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ องค์กรที่ดูแลกำกับเรื่องความปลอดภัย เช่น German Federal Risk Assessment Institute (BfR) และ UK Committee on Toxicity ได้กล่าวถึงระดับสารพิษที่น้อยกว่าของบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดให้ความร้อน จะช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสสารก่อมะเร็ง และสารพิษ โดยสามารถอ้างอิงจากการศึกษาหลายการศึกษา พบผลกระทบเชิงบวกต่อสุขภาพของผู้ที่เปลี่ยนจากการสูบบุหรี่มาเป็นบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดให้ความร้อน เช่น จากการศึกษาของ Polosa ในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยติดตามผลเป็นระยะเวลา 3 ปี พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า มีจำนวนการกำเริบของปอดอุดกลั้นเรื้อรังที่น้อยกว่า และช่วยเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกายได้ดีกว่ากลุ่มที่ยังสูบบุหรี่
2. Q: บุหรี่ไฟฟ้าทำอันตรายต่อปอดหรือไม่
A: มีความพยายามเชื่อมโยงบุหรี่ไฟฟ้าเข้ากับการเจ็บป่วยโรค EVALI ในสหรัฐฯโดยอาศัยวิธีการให้ความจริงแค่ครึ่งเดียว กรมควบคุมโรคของสหรัฐฯ (CDC) ได้ให้รายละเอียดหลังการสืบสวนหาข้อเท็จจริงถึงต้นตอของโรค EVALI นี้ว่า สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากการใช้น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่มีส่วนผสมของน้ำมันกัญชา (THC) และสารวิตามินอีอะซิเตต (Vitamin E Acetate) ซึ่งผู้ป่วยซื้อมาใช้จากร้านค้าเถื่อนหรือตามข้างถนน นอกจากนี้ที่มีรายงานการเจ็บป่วยโรค EVALI รายแรกในไทยนั้น คุณหมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ จากโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ซึ่งเป็นเจ้าของเคสระบุว่า เกิดจากการที่ผู้ป่วยสั่งซื้อน้ำมันกัญชาจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งปอดที่ตนเองเป็นโดยพลการ ไม่ใช่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าแต่อย่างใด
3. Q: บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าบุหรี่ธรรมดาหรือไม่
A: ฝั่งที่ต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าไม่เคยตอบคำถามนี้อย่างตรงไปตรงมาและจะหลีกเลี่ยงไม่เปรียบเทียบบุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่มวน แต่กลับใช้วิธีบอกว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ปลอดภัย 100% มาอ้างแทน ทั้งนี้งานวิจัยจากทั่วโลกชี้ชัดว่าเมื่อเทียบกับบุหรี่มวนแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่ามาก เช่น สถาบันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและการแพทย์ สหรัฐฯ (NASEM) ยังระบุว่า ข้อมูลวิชาการชี้ชัดฟันธงได้ว่าการทดแทนบุหรี่ด้วยการใช้บุหรี่ไฟฟ้านั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดปริมาณสารพิษและสารก่อมะเร็งที่ได้รับจากการสูบบุหรี่ธรรมดา รวมถึงมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าการเปลี่ยนจากบุหรี่ธรรมดาไปสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้น จะช่วยลดผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้
4. Q: ไอมือสองของบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายหรือไม่
A: ไอละอองจากบุหรี่ไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดปัญหาแบบเดียวกับควันบุหรี่มือสอง จึงปลอดภัยกับคนรอบข้างมากกว่าบุหรี่มวน เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีการเผาไหม้ แต่ใช้วิธีระเหยของเหลวให้กลายเป็นไอด้วยความร้อน ทำให้ไม่มีสารพิษต่างๆแบบบุหรี่มวน รวมถึงอนุภาคในไอละอองบุหรี่ไฟฟ้ามีลักษณะเป็นหยดน้ำ (Droplets) เพราะเกิดจากของเหลวที่ระเหยกลายเป็นไอ ต่างจากบุหรี่มวนที่ใช้การเผาไหม้ทำให้มีอนุภาคที่เป็นของแข็ง (Solid particles) จำนวนมากปะปนอยู่ในควันบุหรี่ ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและจัดเป็นมลภาวะทางอากาศรูปแบบหนึ่ง โดยสถาบันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและการแพทย์ สหรัฐฯ (NASEM) ระบุว่า มีหลักฐานที่น่าจะเชื่อได้ว่า ไอละอองมือสองจากบุหรี่ไฟฟ้ามีระดับนิโคตินและอนุภาค ฝุ่นต่างๆน้อยกว่าควันของบุหรี่มวน
5. Q: บุหรี่ไฟฟ้าเสพติดหรือไม่
A: บุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินซึ่งถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับหมากฝรั่งและแผ่นแปะนิโคตินที่ฝั่งต่อต้านรณรงค์ให้ใช้เพื่อช่วยเลิกบุหรี่ อย่างไรก็ดี บุหรี่ไฟฟ้าสามารถปรับลดปริมาณนิโคตินลงได้ตามความต้องการของผู้ใช้จนถึงระดับที่ไม่มีนิโคตินอยู่เลย และทำให้ผู้ใช้เลิกได้ทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนในที่สุด
6. Q: ควรห้ามบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่
A: ฝั่งต่อต้านจะพยายามนำเสนอว่ามีประเทศที่แบนบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว 30 ประเทศ ในขณะที่จำนวนประเทศในโลกนี้มีอจำนวนทั้งหมด 195 ประเทศ นั่นคือมีอีก 165 ประเทศที่ไม่ได้แบนบุหรี่ไฟฟ้า และคำพูดที่ว่าหลายๆประเทศกำลังจะแบนบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เป็นประเทศล่าสุดที่ยกเลิกการแบนบุหรี่ไฟฟ้าไปเมื่อกลางปี 2562 ที่ผ่านมา
7. Q: บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้คุณเลิกสูบบุหรี่ธรรมดาหรือไม่
A: การศึกษาของ Hajek ที่ตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine พบว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพในการเลิกบุหรี่มวนมากกว่าวิธีอื่นถึง 2 เท่า (18 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับกลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนนิโคตินเลิกบุหรี่มวนได้ 9.9 เปอร์เซ็นต์) ดังนั้น กลุ่มที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่มวนมากกว่าอย่างชัดเจนและมีนัยสำคัญทางสถิติ
8. Q: ควรจะควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่
A: บุหรี่ไฟฟ้าควรเปิดให้มีการใช้ได้อย่างถูกกฎหมายภายใต้การควบคุมที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อดึงเอาข้อดีของบุหรี่ไฟฟ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการที่จะลดจำนวนผู้ป่วยจากการสูบบุหรี่ ในขณะที่สามารถป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ไฟฟ้า ไม่เปิดช่องว่างทางกฎหมายให้มีการข่มขู่รีดไถจากเจ้าหน้าที่ มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อสร้างความปลอดภัยและมั่นใจให้กับผู้ใช้ ซึ่งประเทศที่อนุญาตให้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างถูกกฎหมายและมีมาตรการควบคุมที่รัดกุมมีตัวอย่างให้เห็นมากมายโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษ สหภาพยุโรป เป็นต้น
I seriously love your blog.. Very nice colors & theme. Did you make this amazing site yourself? Please reply back as I’m attempting to create my very own blog and want to find out where you got this from or what the theme is called. Cheers!