Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

บุหรี่หนึ่งมวน มีนิโคตินเยอะแค่ไหน

Close up cigarette broken tobacco blast spread on yellow pastel background with light side and little shadow. No and quitting smoking concept.

ที่มา : https://vaping360.com/learn/nicotine-in-a-cigarette/?fbclid=IwAR2BGxRIk81dMQzJp8NVRdeG6vabsSlEJTPL825YZqM0vveF_qKIIajSmvI

https://philipmorristhailand.com/Science-and-innovation/harm-reduction-tabacco/what-is-nicotine

ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามักมีคำถามว่า “บุหรี่หนึ่งมวน” มีนิโคตินเยอะแค่ไหน ? เพื่อที่จะได้เอาไปใช้คำนวณความแรงของระดับนิโคตินที่ตัวเองต้องการในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า โดยอิงจากระดับความแรงของนิโคตินที่เคยได้รับจากการสูบบุหรี่ แต่อย่างไรก็ตามการรู้ว่าบุหรี่ 1 มวนมีนิโคตินกี่มิลลิกรัมนั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะใช้ต้องใช้น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าในปริมาณที่เท่ากันกับตอนที่สูบบุหรี่มวนเพราะบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนนั้นต่างก็มีวิธีการบริโภคนิโคตินที่แตกต่างกันมาก ต่อให้ใช้นิโคตินในปริมาณเท่ากันก็ไม่ได้ให้ความพึงพอใจแบบเดียวกัน

ประเด็นไม่ได้อยู่ที่บุหรี่หนึ่งมวนมีนิโคตินมากแค่ไหน แต่อยู่ที่ผู้สูบบุหรี่ได้รับนิโคตินมากแค่ไหน

บุหรี่หนึ่งมวนจะมีนิโคตินกี่มิลลิกรัมนั้นไม่สำคัญเท่ากับการที่ “ผู้สูบบุหรี่ได้รับนิโคตินจากบุหรี่หนึ่งมวนมากแค่ไหน” ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านนิโคตินผู้มีชื่อเสียงจากหลายหน่วยงานของหลายประเทศก็มีคำตอบในเรื่องนี้ที่แตกต่างกัน ดังนั้น บุหรี่จะให้นิโคตินต่อผู้สูบมากหรือน้อยขึ้นกับตัวผู้สูบบุหรี่และผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญในการที่บุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้าให้นิโคตินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร่างกายควบคุมปริมาณนิโคตินด้วยตัวเองได้

รู้ไหมว่าความจริงแล้วผู้สูบบุหรี่หรือผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าสามารถตัดสินใจควบคุมปริมาณนิโคตินที่ได้รับเองได้ด้วยการสูบบุหรี่มากขึ้นหรือน้อยลง สูบเร็ว สูบช้า ถี่มาก ถี่น้อย โดยเราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าการควบคุมความเข้มข้น (Titration) ด้วยตัวเอง ซึ่งผู้บริโภคนิโคตินทุกคนก็ทำแบบนั้น และหากคุณได้รับนิโคตินมากเกินไปไม่ว่าคุณจะได้รับจากบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า ผลลัพธ์ก็เหมือนกันคือ

· วิงเวียนศีรษะ

· ปวดศีรษะ

· คลื่นไส้

· ภาวะเหงื่อเย็น

· นอนไม่หลับ

· หัวใจเต้นถี่

· วิตกกังวลหรือกระวนกระวายใจ

· หูอื้อ

แต่เนื่องจากร่างกายของเรารู้ว่าเมื่อไหร่ที่เรารับนิโคตินเข้าไปมากเพียงพอแล้ว เราจึงหยุดหรือสูบช้าลง สำหรับผู้ที่บริโภคนิโคตินมานาน กระบวนการนี้แทบจะเป็นจิตใต้สำนึกเลยก็ว่าได้ การควบคุมความเข้มข้นด้วยตนเอง คือการที่สมองของเราบอกเราว่าตอนไหนที่ร่างกายของเราต้องการมากหรือน้อย และสัญญาณเตือนพวกนี้คือสิ่งที่ป้องกันไม่ให้เรารับนิโคตินเกินขนาด ไม่มีใครสูบบุหรี่หรือใช้บุหรี่ไฟฟ้าเกินขนาด เพราะนั่นหมายความว่าคุณต้องสูดนิโคตินเข้าอยู่ตลอดในขณะที่อาเจียน และรับมือกับอาการปวดหัวจนแทบระเบิด

ในการสูบบุหรี่ นิโคตินเป็นสารกระตุ้นอย่างอ่อน ๆ ที่มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ซึ่งทำให้เสพติดอย่างมากในบุหรี่ เนื่องจากสารออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (MAOI) ซึ่งช่วยเพิ่มความพึงพอใจของนิโคตินในสมองของคุณ และแอมโมเนีย ซึ่งจะเพิ่มนิโคตินเพื่อให้สมองของคุณ เพื่อให้คุณต้องการมันครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งทำให้คุณสูดดมควันที่มีสารทาร์และคาร์บอนมอนอกไซค์มากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจมะเร็งและโรคอื่น ๆ ในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า มีนิโคตินเหมือนกัน แต่ไม่มีพวกสารเพิ่มเติมทั้งหลาย มีเพียง PG (โพรพิลีนไกลคอล) และ VG (กลีเซอรีนจากพืช) ผสมกับสารปรุงแต่งรสชาติ สร้างไอละออง ซึ่งไม่มีควันหรือสารทาร์ และไม่มีส่วนผสมใดที่ทำให้เสพติดได้มากไปกว่านิโคตินนั่นเอง ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าไม่ได้เสพติดมากเท่ากับนิโคตินที่รับเข้าทางยาสูบแบบเผาไหม้

แล้วทำไมยังต้องมีนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควัน ข้อมูลจากเวปไซด์ของฟิลลิป มอร์ริส ระบุว่านิโคตินเป็นหนึ่งในเหตุผลที่คนตัดสินใจสูบบุหรี่ นอกจากการติดพฤติกรรมและความเคยชินแล้ว ดังนั้น การจะทำให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าหรือผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควันทดแทนการสูบบุหรี่ ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจึงจำเป็นต้องมีนิโคติน เพราะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]