Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

การศึกษาชี้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมื่อเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน

ที่มา: Fewer exacerbations and higher quality of life in COPD: Interview with Prof. Polosa – Catania Conversation (coehar.org)

ศาสตราจารย์ Riccardo Polosa เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการลดอันตราย Center of Excellence for the Acceleration of Harm Reduction ได้ทำการศึกษาทดลองเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ที่มีอาการกำเริบน้อยลงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเมื่อเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนแทนการสูบบุหรี่มวน

โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบพารามิเตอร์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เปลี่ยนจากการสูบบุหรี่มาใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน (Heated Tobacco Products) โดยจุดมุ่งหมายของการศึกษาคือเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงทั้งทางวัตถุวิสัย (Objective) และภาวะวิสัย (subjective) ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และอย่างที่เรารู้กันดีว่าการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เกิดจากการเผาไหม้ในบุหรี่มวน จะช่วยชะลอการลุกลามของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและทำให้สุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และจากการติดตามผลเป็นเวลา 3 ปี ข้อมูลได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนนั้นช่วยลดอาการกำเริบอย่างเฉียบพลันของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังลงได้มากกว่า 40% และยังช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ทำให้พวกเขาสามารถกลับไปออกกำลังกายได้อีกครั้ง โดยเกือบ 60% ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน เลิกสูบบุหรี่มวนโดยสิ้นเชิงตลอดระยะเวลาการศึกษา และหลังจากที่ได้ติดตามผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกว่า 40 ชีวิตในช่วงหลายปีที่ผ่านและจากการศึกษาในครั้งนี้ เราก็ได้พบว่าผู้ที่ใช้งานผลิตภัณฑ์ลดความเสี่ยงชนิดต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการใช้บุหรี่แบบดั้งเดิมนั้นสามารถลดการสัมผัสกับควันบุหรี่ในแต่ละวันลงได้ และสุขภาพของระบบทางเดินหายใจมีพัฒนาการที่ดีขึ้นใกล้เคียงกันกับผู้ที่เลิกสูบบุหรี่โดยสิ้นเชิง

“ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวนมากไม่สามารถหรือไม่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ แผนการเลิกบุหรี่ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะใช้ไม่ได้ผลกับผู้สูบบุหรี่ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนใหญ่”

จากประสบการณ์ของเขาพบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวนมากไม่สามารถหรือไม่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ ถึงแม้จะทราบดีว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และแผนการเลิกบุหรี่ส่วนใหญ่ดูเหมือนจะใช้ไม่ได้ผลกับผู้สูบบุหรี่ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังส่วนใหญ่ และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำนวนมากก็ยังคงเลือกที่จะสูบบุหรี่ต่อไปถึงแม้จะมีอาการป่วยก็ตาม โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต้องเผชิญกับพยาธิสภาพที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง แต่ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนจะเป็นวิธีที่ช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่ดีขึ้น อย่างในประเทศอังกฤษ แพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโครงการเลิกบุหรี่จะแนะนำให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ลดความเสี่ยง เราหวังที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกันนี้ในทุกประเทศทั่วโลก แต่โชคร้ายที่ทุกวันนี้กลับมีข้อมูลผิด ๆ มากมายเกี่ยวกับความกังวลของการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน

และบุหรี่ไฟฟ้าที่ส่วนใหญ่มักกล่าวอ้างว่ามีอันตรายไม่ต่างจากการสูบบุหรี่ ทั้ง ๆ ที่การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคใกล้เคียงได้

ทั้งนี้เรายังต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวของผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน แต่เราสังเกตได้ว่าอาการของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนนั้นมีการกำเริบน้อยลง คล้ายกับอาการของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยยา โดยผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนช่วยลดความไวต่ออาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การศึกษานี้เป็นการศึกษาที่ค่อนข้างเล็ก มีระยะเวลาติดตามผลค่อนข้างจำกัดเพียง 3 ปี อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรละเลยการศึกษาขนาดเล็กว่าไร้ประโยชน์ เพราะในการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงครั้งนี้

โดยเราจำเป็นต้องมีการติดตามผลการศึกษาระยะเพื่อพิสูจน์และชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีนำส่งนิโคตินที่ปราศจากการเผาไหม้ในโครงการเลิกบุหรี่หรือช่วยลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เรารู้มานานแล้วว่าสารเคมีในควันบุหรี่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ได้ว่าการทดแทนการสูบบุหรี่ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินที่ปราศจากการเผาไหม้ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน บุหรี่ไฟฟ้า ก็จะช่วยปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ทั้งนี้เราก็ต้องระวังข้อมูลผิด ๆ จากการออกแบบการศึกษาทดลองที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ไม่ได้ออกแบบการทดลองให้มีความใกล้เคียงกับสภาพการใช้งานปกติ

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]