
รายงานระดับโลกฉบับใหม่จาก Cochrane องค์กรอิสระไม่แสวงหากำไรศึกษาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าแบบมีนิโคตินเพื่อช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่เพิ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
รายงานฉบับใหม่จาก Cochrane Review โดยเครือข่ายนักวิจัยอิสระและผู้ที่สนใจด้านสุขภาพ ได้ทบทวนการศึกษา 61 เรื่องที่มีผู้เข้าร่วมกว่า 16,759 คน พบว่า “ผู้สูบบุหรี่จำนวนมากสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้อย่างน้อยหกเดือนจากการใช้บุหรี่แบบมีนิโคติน ได้มากกว่าการใช้นิโคตินทดแทนหรือบุหรี่ไฟฟ้าแบบไม่มีนิโคติน”
การทบทวนรายงานฉบับนี้ยังได้ศึกษาการทดลองที่ผู้เข้าร่วม
ได้รับการรักษาแบบสุ่มเนื่องจากการศึกษาประเภทนี้ “มักจะให้หลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดเกี่ยวกับผลของการรักษา”
เจมี่ ฮาร์ทมันน์-บอยซ์ (Jamie Hartmann-Boyce ) ผู้เขียนหลักของรายงาน Cochrane Review ฉบับนี้ได้กล่าวใน The Conversation (องค์กรข่าวออนไลน์ในออสเตรเลีย) ว่า
“งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าแบบมีนิโคตินสามารถช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่และอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทน ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบบุหรี่ไฟฟ้าในฐานะแนวทางเลิกบุหรี่ และไม่มีหลักฐานว่าผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงมากกว่า”
เจมี่ ฮาร์ทมันน์-บอยซ์ เสริมว่า “นอกจากจะช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้แล้ว บุหรี่ไฟฟ้ายังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อคนรอบข้างน้อยกว่า ในขณะที่ควันบุหรี่มือสองจากบุหรี่มวนนั้นคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกกว่า 1.2 ล้านคนต่อปี”
“เป็นที่น่าสังเกตว่า บุหรี่ไฟฟ้านั้นมีเพียงสารนิโคตินและไม่มีส่วนประกอบของใบยาสูบเหมือนกับบุหรี่มวนถึงแม้ว่านิโคตินจะเป็นสารเสพติด แต่ควันบุหรี่นั้นมีสารคาร์บอนมอนอกไซด์ ทาร์ และสารเคมีที่เป็นพิษ ซึ่งรวมถึงเบนซีน สารหนู และฟอร์มัลดีไฮด์”
“เป็นที่ทราบกันดีว่าสารพิษเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจและปอดอื่น ๆ อันตรายจากบุหรี่ส่วนใหญ่จึงมาจากการเผาของใบยาสูบ ไม่ใช่จากสารนิโคติน ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้านั้นทำให้คนได้รับสารนิโคตินโดยปราศจากการเผาไหม้”
ดร.สตีเวน เชา (Dr.Steven Chow ) ประธานสมาพันธ์แพทย์เอกชนมาเลเซีย (FPMPAM) กล่าวว่าหน่วยงานด้านการแพทย์ควรตรวจสอบรายงาน Cochrane Review เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเกี่ยวข้องของการลดอันตรายจากยาสูบ (tobacco harm reduction ) ในการเลิกบุหรี่
“ความชุกของการสูบบุหรี่ในมาเลเซียพุ่งสูงขึ้นมานานกว่าทศวรรษ ข้อมูลที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่าความชุกของการสูบบุหรี่นั้นไม่ลดลงเลยถึงแม้จะมีโครงการต่อต้านการสูบบุหรี่ทั้งในอดีตและปัจจุบันก็ตาม ดังนั้นการนำแนวทางการลดอันตรายจากยาสูบ (THR) มาใช้เป็นเครื่องมือในการเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดจึงเป็นสิ่งที่ควรถูกศึกษา” เขากล่าว
“ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์จำเป็นต้องศึกษานวัตกรรมต่าง ๆ ให้มากขึ้นเพื่อลดอุบัติการณ์การสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้นในมาเลเซีย และต้องได้รับการสนับสนุนด้วยกรอบการกำกับดูแลที่เหมาะสมโดยเป้าหมายสูงสุดนั้นคือการเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดเพื่อลดภาระโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่อย่างเรื้อรัง”
More Stories
แนวทางการลดความเสี่ยงในการควบคุมยาสูบ
นิโคตินคืออะไร กับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
การเปลี่ยนแปลงตลาดบุหรี่ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของ Juul และ Vuse ลดลง