Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

กิจกรรมในต่างประเทศของเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ECST

ปัจจุบันนี้ผู้คนทั่วโลกได้ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่มวนกันมากขึ้นทำให้แนวทางการลดอันตรายจากควันยาสูบหรือ Harm Reduction นั้นได้รับความสนใจจากรัฐบาลและหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านสุขภาพ ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่หรือลดอันตรายจากการสูบบุหรี่มวน

หนึ่งในประเทศที่สนับสนุนแนวทาง Harm Reduction ให้เป็นทางเลือกกับประชาชนผู้สูบบุหรี่นั้นคือประเทศอังกฤษ เนื่องจากรัฐบาลต้องการสร้าง Smoke-free generation จึงสนับสนุนผู้ที่เลิกบุหรี่ไม่ได้หรือไม่พร้อมเลิกหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยสาธารณสุขอังกฤษได้ออกมายืนยันว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนถึง 97% นอกจากนี้ยังได้บรรจุให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาคนไข้ที่ติดบุหรี่อีกด้วย

ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ถึงแม้จะไม่มีกฎหมายห้ามครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ยังผิดกฎหมายในฐานะสินค้าที่ไม่เสียภาษีเนื่องจากเป็นสินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2559 ดังนั้นการครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27

ท่ามกลางงานวิจัยในต่างประเทศที่ยืนยันว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนและสามารถใช้เป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่หรือลดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ หน่วยงานด้านสุขภาพในประเทศไทยกลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอย่างไม่เป็นกลาง อีกทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยก็ยังยืนกรานว่าจะไม่ยกเลิกการแบนบุหรี่ไฟฟ้าถึงแม้ว่าจะมีการเรียกร้องจากเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าก็ตาม เมื่อภาครัฐเพิกเฉยต่อหน้าที่ในการค้นหาข้อเท็จจริง ภาคประชาชนอย่างเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ECST ( End Cigarette Smoke Thailand ) นำโดยนายอาสา ศาลิคุปต และ นายมาริษ กรัณยวัฒน์ จึงต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์ในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดลดความเสี่ยงต่อสุขภาพและข้อมูลที่เป็นกลางเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ยังได้เข้าร่วมงานเสวนาเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในหลายประเทศเพื่ออัพเดทข้อมูลงานวิจัยและนโยบายของต่างประเทศ และเพื่อบอกเล่าถึงสถานการณ์ที่ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยต้องเผชิญ ส่งเสียงให้ทั่วโลกได้รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น โดยที่ผ่านมากลุ่มลาขาดควันยาสูบ ECST ได้เข้าร่วมกิจกรรมในต่างประเทศมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  1. สัมภาษณ์ ดร. คอนสแตนตินอส ฟาสซิลินอส นักวิจัยด้านสาธารณสุขที่สถาบันโอนาสซิสเซ็นเตอร์ กรุงเอเธนส์ กรีซ ที่ประเทศมาเลเซีย
  2. ร่วมงาน Global Forum on Nicotine ที่กรุงวอร์ซอร์ ประเทศโปแลนด์
    งาน GFN เป็นการประชุมระดับนานาชาติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นิโคตินทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้คนเลิกสูบบุหรี่ทั้งในเรื่องของผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การออกนโยบายและข้อบังคับใช้ที่เหมาะสม
  3. ร่วมงาน The 1St Asia Harm Reduction Forum 2017 ที่กรุงจาการ์ตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย
    จัดขึ้นโดยสาธารณสุขสาธารณะของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีคณะผู้แทนจากนานาชาติร่วม 10 ประเทศ มาร่วมเสวนาในครั้งนี้เพื่อแสดงทัศนะและข้อเสนอของผู้บริโภคที่เป็นผู้สูบบุหรี่ในปัจจุบัน โดยมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขของแต่ละประเทศเลิกมองผู้สูบบุหรี่เป็นจำเลยของสังคม
  4. ร่วมงาน #VapersBeHeard ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
    เป็นงานที่จัดขึ้นโดยสมาคมของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าจากประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย รวมตัวกันเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเอเชีย เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางเลือก โดยเฉพาะในเรื่องของนโยบายควบคุม สิทธิ์และเสรีภาพในการใช้งาน
  5. ร่วมงานประชุม FCTC COP8 จัดโดย WHO ที่เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
    เป็นงานประชุมที่ผู้เข้าร่วมต้องได้รับเชิญเท่านั้น ทั้งนี้เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้รับเชิญไปเป็นผู้สังเกตการณ์ โดยงานนี้ย่อมาจาก Framework Convention on Tobacco Control หรือกรอบการทำงานควบคุมในเรื่องการควบคุมยาสูบ เป็นงานประชุมของภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO) งานนี้มีตัวแทนสนธิสัญญาการควบคุมยาสูบเข้าร่วมกว่า 148 ประเทศ รวมถึงตัวแทนของหน่วยงานสหประชาชาติ องค์กรระหว่างรัฐบาล และภาคประชาสังคม

    • โดยหลายประเทศมีความเห็นตรงกันที่จะให้มี Regulation หรือระเบียบข้อบังคับให้มีทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไฟฟ้า ,Snus (ใบยาสูบแบบเหน็บบริเวณเหงือก) , Heat not burn หรืออะไรก็ตามที่ไม่มีการเผาไหม้หรือ Combustion แต่ทั้งนี้คำแนะนำของ WHO ไม่ถือเป็นข้อบังคับ เป็นเพียงคำแนะนำขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศว่าจะปรับใช้อย่างไร อีกประการหนึ่ง WHO ไม่เคยออกมารับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การที่หน่วยงานบางหน่วยยื่นข้อเสนอให้กลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้านำหนังสือรับรองจาก WHO ว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีผลกระทบใด ๆ กับร่างกายมนุษย์มายืนยันจึงจะยกเลิกการแบนบุหรี่ไฟฟ้าจึงเป็นไปไม่ได้
  6. ร่วมงาน Asia Harm Reduction Forum ที่ประเทศฟิลิปปินส์ งานนี้เป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการและผู้บริโภคจากทั่วเอเชียและแปซิฟิก เกี่ยวกับเรื่องของการลดอันตรายจากยาสูบและเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการลดอันตรายจากยาสูบทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สาธารณสุข กฎระเบียบและสังคม

ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมในต่างประเทศที่ทางกลุ่มลาขาดควันยาสูบ ECST ( End Cigarette Smoke Thailand ) นำโดยนายอาสา ศาลิคุปต และ นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ได้เข้าร่วม โดยทางกลุ่ม ECST ยืนยันว่าจะไม่หยุดเคลื่อนไหวอย่างแน่นอน

อ้างอิงจาก :
https://www.pmiscience.com/science/conferences/conference/6th-global-forum-on-nicotine
https://asiaharmreductionforum.com/pages/session_summaries
http://manilastandard.net/business/biz-plus/275108/asian-vapers-unite-to-share-voice-with-authorities.html
https://www.who.int/fctc/mediacentre/news/2018/cop8-closing-press-release/en/
https://asiaharmreductionforum.com/pages/about_asia_harm_reduction_forum
https://gfn.net.co

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 5]