Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระ เรียกร้อง WHO เลิกวางท่าทีต่อต้านการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

ที่มา : https://www.heraldsun.com.au/lifestyle/health/global-experts-call-on-world-health-organisation-to-ditch-prohibitionist-antivaping-stance/news-story/1cdb3b0bb47df36dde7cfb87ef92fe21

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นิโคตินระดับโลกกว่า 100 คนได้ออกมาเรียกร้องให้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เลิกวางท่าทีต่อต้านการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพราะการต่อต้านการใช้บุหรี่ไฟฟ้าขององค์การอนามัยโลกนั้นจะยิ่งเป็นการนำพาผู้สูบบุหรี่ไปสู่ความตายและความทุกข์ทรมานจากการสูบบุหรี่ที่มีการเผาไหม้มากขึ้น

ดังนั้น ก่อนการประชุมภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบครั้งที่ 9 (FCTC COP9) จะมีขึ้น กลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นิโคตินจึงได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบหรือ (FCTC) เพื่อตำหนิองค์การอนามัยโลกที่ปฏิเสธศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงตลาดยาสูบที่มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพให้กลายมายาสูบที่มีความเสี่ยงต่ำทั้ง ๆ ที่สามารถทำได้

พวกเขาเขียนในจดหมายเปิดผนึกว่า

“WHO กำลังปฏิเสธกลยุทธ์ด้านสาธารณสุขที่สามารถช่วยผู้คนนับล้านให้หลีกเลี่ยงการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ได้”

ดร.โคลิน เมนเดลโซห์น (Dr Colin Mendelsohn) ประธานผู้ก่อตั้งสมาคมการลดอันตรายจากยาสูบแห่งออสเตรเลีย

(Australian Tobacco Harm Reduction Association) กล่าวว่า “WHO รณรงค์ต่อต้านนโยบายการลดอันตรายจากยาสูบ (Tobacco harm reduction) แม้ว่าการลดอันตรายจากยาสูบจะเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายอย่างเป็นทางการของ FCTC เองด้วยซ้ำ”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เวย์น ฮอลล์ (Wayne Hall) จากศูนย์วิจัยการใช้สารเสพติดในเยาวชนแห่งชาติ ประจำมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (National Center for Youth Substance Use Research) และ ดร.อเล็กซ์ วอดัก (Alex Wodak) ที่ปรึกษากิตติคุณจากโรงพยาบาล St. Vincent’ s ก็เป็นผู้ลงนามร่วมในจดหมายฉบับดังกล่าวเช่นกัน

ดร.เมนเดลโซห์น กล่าวว่า “องค์การอนามัยโลกยังคงให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการลดอันตรายจากยาสูบอย่างต่อเนื่อง และไม่เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นทางเลือกทดแทนการสูบบุหรี่” โดยแนวทางขององค์การอนามัยโลกนั้นมีอิทธิพลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง (LMICs)

“สิ่งนี้จะนำไปสู่ความตายและความทุกข์ทรมานจากการสูบบุหรี่มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ที่อัตราการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ได้เกิดขึ้นแล้ว” ดร.เมนเดลโซห์น กล่าว

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญชี้การใช้บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่า

ในจดหมายเปิดผนึกที่ส่งถึงองค์การอนามัยโลก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นิโคติน ได้ยกประเด็นสำคัญเจ็ดประการและเสนอแนะ 6 ข้อเพื่อเรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกปรับปรุงแนวทางนโยบายควบคุมยาสูบของตนให้ทันสมัย โดยประเด็นสำคัญเจ็ดประการนั้นได้แก่

1. แนวทางการลดอันตรายจากยาสูบได้นำเสนอโอกาสด้านสาธารณสุขที่สำคัญ (Tobacco harm reduction presents significant public health opportunities)

2. บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยผลักดันผู้สูบไปสู่การเลิกบุหรี่ (E-cigarettes are a driver of smoke cessation)

3. แนวทางการลดอันตรายจากยาสูบสามารถนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Tobacco harm reduction can contribute to Sustainable Development Goals)

4. จากการประเมินด้านกฎระเบียบที่สำคัญได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ให้ความร้อน (Major regulatory assessments experience support heated tobacco products)

5. ผู้กำหนดนโยบายต้องตระหนักถึงผลที่ตามมาโดยไม่ได้ตั้งใจจากข้อเสนอนโยบาย (Policymakers must recognise unintended consequences of policy proposals)

6. ออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์นำส่งนิโคติน (ENDS) ในกลุ่มวัยรุ่นในบริบทที่เหมาะสม (Place adolescent ENDS use in proper context)

7. มีการสนับสนุนด้านสาธารณสุขเพื่อลดอันตรายในการควบคุมยาสูบ (There is public health support for harm reduction in tobacco control)

(อ้างอิงจาก : https://www.skynews.com.au/lifestyle/health/world-health-organisation-slammed-in-open-letter-for-antivape-stance-contributing-to-millions-of-deaths/news-story/da6406e4dcf4be224a4903882e86142a)

“ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นวัตกรรมในตลาดยาสูบและผลิตภัณฑ์นิโคติน ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบนิโคตินได้โดยที่ไม่มีการเผาไหม้ใบยาสูบและไม่ต้อง

สูดดมควันบุหรี่” หนึ่งในข้อความจากจดหมายเปิดผนึก

“ผลิตภัณฑ์ไร้ควันเหล่านี้รวมถึงไปผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์นิโคตินสำหรับช่องปาก

ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน และยาสูบไร้ควันที่มีสารไนโตรซามีนต่ำ เช่น snus”

“มีหลักฐานที่น่าสนใจว่าผลิตภัณฑ์ไร้ควันมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มาก และสามารถแทนที่พฤติกรรมการสูบบุหรี่

ของบุคคลและในระดับประชากรได้”

ข้อความในจดหมายยังได้ระบุด้วยว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมลงชื่อเหล่านี้ตระหนักดีว่ายังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมยาสูบ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากหลักฐานจำนวนมากที่มีอยู่ในปัจจุบัน และไม่ควรกังวลเกินเหตุจนปฏิเสธโอกาสที่ผู้สูบบุหรี่จะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนที่มีอันตายน้อยกว่า

ตอนนี้ชีวิตของผู้สูบบุหรี่กว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกนั้นขึ้นอยู่กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย

ผู้สูบบุหรี่บางประเทศก็โชคดีที่มีผู้นำก้าวหน้า เปิดโอกาสให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ลดความเสี่ยงอย่างบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยกว่า 10 ล้านคนยังถูกปิดกั้นทางเลือก หวังว่าผู้กำหนดนโยบายระดับโลกอย่างองค์การอนามัยโลกจะปรับปรุงนโยบายควบคุมยาสูบและหันมาส่งเสริมแนวทางการลดอันตรายจากยาสูบเพื่อ

ทำให้ประเทศที่อยู่ภายใต้อิทธิพลปรับเปลี่ยนแนวทางให้ผู้สูบบุหรี่มีทางเลือกในการลดอันตรายจากสูบบุหรี่

และลดอัตราการเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 5]