Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

ดูอย่างไรว่าเป็นน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจริง-ปลอม?

อัตราสูบบุหรี่ตกลงกว่าครึ่งหนึ่งนับจากปี 1989

จากเหตุการณ์ที่มีผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคปอดที่เชื่อมโยงกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกา

หรือโรค “อีวาลี่” ( EVALI ) คงทำให้ผู้ใช้งานบุหรี่ไฟฟ้ามีความกังวลใจ โดยเฉพาะผู้ใช้งานในประเทศที่ไม่ได้มีหน่วยงานที่ช่วยกำกับดูแลและควบคุมการผลิตอย่างประเทศไทยก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง  ทำให้วิธีการสังเกตผลิตภัณฑ์น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าว่าเป็นของแท้หรือปลอมนั้นกลายเป็นคำถามยอดนิยม

ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ECST ( End Cigarette Smoke Thailand )

นายอาสา ศาลิคุปต และ นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็นของแท้หรือของปลอมไว้ว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากว่าบางครั้งผู้ผลิตมีการซื้อสูตรมาผลิตต่อก็อาจส่งผลให้น้ำยามีรสชาติที่ผิดแปลกไป หรือแม้กระทั่งเป็นสินค้าจากโรงงานเดียวกัน ล็อตเดียวกันก็อาจแตกต่างกันได้เนื่องจากว่าเป็นการผลิตแบบ  Handcraft  จึงทำให้สังเกตได้ยาก นอกเสียจากว่าแบรนด์นั้น ๆ จะมีบาร์โค๊ด หรือมีรหัสสินค้าที่สามารถนำไปตรวจสอบทางเว็บไซต์ของแบรนด์ได้ และหากต้องการความสบายใจก็ควรซื้อกับร้านประจำหรือร้านที่น่าเชื่อถือ

อัตราสูบบุหรี่ตกลงกว่าครึ่งหนึ่งนับจากปี 1989

ทั้งนี้ศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา( CDC ) ได้มีคำแนะนำสำหรับประชาชนและผู้ใช้งานบุหรี่ไฟฟ้าไว้ดังนี้

  • อย่าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ THC , ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีมาตรฐาน และอย่าซื้อผลิตภัณฑ์จากแหล่งผิดกฎหมายหรือจากออนไลน์
  • อย่าดัดแปลงหรือเพิ่มสารใด ๆ เช่น THC หรือน้ำมันอื่น ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์
  • ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ไม่ควรเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และหากคุณเป็นผู้ใหญ่ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนการสูบบุหรี่ #อย่ากลับไปสูบบุหรี่มวน
  • หากคุณเลือกที่จะใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ตรวจสอบอาการ หากมีอาการ เช่น ไอหายใจถี่เจ็บหน้าอก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

เห็นได้ชัดว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นต้องการการกำกับดูแลและควบคุมมากกว่าการแบนแบบเบ็ดเสร็จ ยกตัวอย่างประเทศประเทศอังกฤษ ที่มีหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ยาอย่าง MHRA กำกับดูแลควบคุมเรื่องยาสูบ มีร้านที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ถูกกฎหมายและได้มาตรฐาน แต่สำหรับผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในบ้านเรา
บุหรี่ไฟฟ้าถูกจัดให้เป็นสินค้าผิดกฎหมายและไม่มีหน่วยงานมาช่วยกำกับดูแล จึงเป็นภาระหน้าที่ของผู้บริโภคที่จะต้องตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อนใช้งาน

Click to rate this post!
[Total: 6 Average: 2.7]