Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

ระบบให้ความร้อนยาสูบไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพอากาศในอาคาร

ระบบให้ความร้อนยาสูบไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพอากาศในอาคาร

ข้อมูลจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลาย ๆ โครงการ ซึ่งผลการศึกษาได้รับการเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์ที่ได้รับการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า การใช้ระบบให้ความร้อนยาสูบไม่ส่งผลในทางลบต่อคุณภาพอากาศในอาคารโดยรวม

การศึกษาเหล่านี้มีการดำเนินการเพื่อประเมินผลกระทบต่อคุณภาพอากาศของผลิตภัณฑ์นิโคตินใหม่ ๆ อย่างเช่น ระบบให้ความร้อนยาสูบ ซึ่งถือกันว่าเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ดีกว่าบุหรี่แบบเผาไหม้ นักวิจัยกล่าวว่าการประเมินคุณภาพอากาศเป็นปัจจัยสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์ซึ่งให้ความร้อนยาสูบและไม่ได้เผาไหม้ยาสูบ เนื่องจากจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่แสดงให้เห็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ต่อผู้อยู่รอบข้าง

ผลิตภัณฑ์นิโคตินชนิดใหม่แบบไร้ควัน ซึ่งเป็นระบบให้ความร้อนยาสูบ (THS หรือ tobacco heating system) อย่างเช่น IQOS ของ ฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล ใช้กลไกที่ควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ความร้อนแท่งยาสูบที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษอย่างแม่นยำในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าระดับขั้นต่ำที่จะทำให้เกิดการเผาไหม้ หรือการลุกไหม้

ในการศึกษาโครงการหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่ในเดือนกันยายน 2561 โดย Science Direct ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มชั้นนำสำหรับงานวิจัยที่ได้รับตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Kaunas University of Technology ในลิธัวเนียได้ตรวจสอบผลกระทบของ THS ต่อคุณภาพอากาศในอาคารไว้

โดยได้มีการเปรียบเทียบความเข้มข้นในอาคารของสาร อย่างเช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ อะเซทัลดีไฮด์ เบนซีน โทลูอีน นิโคติน และฝุ่น PM 2.5 และได้อภิปรายถึงความเข้มข้นของสารอันตรายและสารที่อาจก่ออันตรายอื่น ๆ

โดยผู้เขียนบทความ ได้แก่ Violeta Kauneliene, Marija Meisutovic-Akhtarieva และ Dainius Martuzevicius ได้กล่าวไว้ว่า “ในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม การใช้ THS [รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้า] ก่อให้เกิด ฟอร์มัลดีไฮด์ เบนซีน โทลูอีน ฝุ่น PM 2.5 ในระดับความเข้มข้นต่ำที่สุดในบรรดาแหล่งมลพิษที่มีการวิจัยส่วนใหญ่ [บุหรี่แบบดั้งเดิม บารากู่ ธูป ยากันยุง]”

พวกเขากล่าวว่า “ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระดับสารบ่งชี้การเกิดมลพิษของอากาศในอาคารที่สำคัญ ๆ ในกรณีของไอละอองในสภาพแวดล้อมจาก THS นั้น อาจจะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจะตรวจวัดแยกออกมาได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความท้าทายให้กับการศึกษาด้านระบาดวิทยา ที่มุ่งไปที่การประเมินการได้รับสารพิษแบบมือสองในสภาพแวดล้อมจริง”

การศึกษาอีกโครงการหนึ่งที่เผยแพร่ใน ScienceDirect เมื่อเดือนมีนาคม 2561 พบว่า สารมลพิษจาก THS มีอยู่ในอากาศในอาคารน้อยกว่าสารมลพิษจากบุหรี่แบบดั้งเดิม

นักวิจัยจาก British American Tobacco Investments กล่าวว่า THS ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในอาคารต่ำกว่าบุหรี่เผาไหม้แบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากมีสารมลพิษทั้งในแง่ของอนุภาคไอละอองและสารมลพิษที่เป็นสารเคมีต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาโครงการนี้ได้สรุปว่า THS ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในอาคารน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ และสารมลพิษที่มันปล่อยออกมามีกลิ่นน้อยกว่าสารมลพิษจากบุหรี่แบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญ

ในปี 2560 วารสารของยูเครนที่ชื่อ Journal of Modern Problems of Toxicology ได้ตีพิมพ์การศึกษาโครงการหนึ่งที่ดำเนินการโดยนักวิจัยจากศูนย์วิจัย L.I. Medved’s Research Center of Preventive Toxicology, Food and Chemical Safety ของกระทรวงสาธารณสุขของยูเครน ซึ่งพบว่าระหว่างการใช้ THS นั้น ไม่พบสาร อย่างเช่น เบนโซ(เอ)ไพรีน นิโคติน และแอมโมเนีย

การศึกษาของยูเครนโครงการนั้นได้กล่าวว่า “ปริมาณที่แท้จริงของตัวชี้วัดความปลอดภัยของอากาศ [คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และฟอร์มัลดีไฮด์] ในอากาศในอาคาร ระหว่างและหลังจากการใช้

ระบบยาสูบแบบให้ความร้อนด้วยไฟฟ้านั้น ไม่เกินค่าขีดจำกัดสำหรับอากาศในสภาพบรรยากาศ ซึ่งตรงกันข้ามกับบุหรี่แบบดั้งเดิม”

การศึกษาโครงการหนึ่งที่เผยแพร่ในเดือนเมษายน 2562 โดย SpringerLink ซึ่งเป็นศูนย์รวมระดับนานาชาติของวารสารที่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ทำการประเมินคุณภาพอากาศของ THS ภายใต้สภาวะของอาคารที่พักอาศัยจำลอง นักวิจัยซึ่งนำโดย Dr. Maya I. Mitova จากฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่าภายในสภาวะแวดล้อมจำลอง “อาคารที่พักอาศัยหมวดที่ III” มีเพียงสารประกอบ 2 ตัว [นิโคตินและอะเซทัลดีไฮด์] และสารประกอบจำเพาะหนึ่งตัว [กลีเซอรีนซึ่งเป็นสารสร้างไอละออง] เท่านั้นที่พบว่าเกิดมาจากการใช้ THS ภายในอาคาร แต่ก็พบในระดับที่ต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตราย

พวกเขากล่าวว่า “ความเข้มข้นที่ตรวจวัดได้ของสารประกอบในอากาศทั้งสามระหว่างการใช้ [THS] ในอาคารในการศึกษาสภาพแวดล้อมแบบอาคารที่พักอาศัยจำลองที่มีการใช้งานอย่างหนักนั้น อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดโดยหน่วยงานในด้านนี้ ดังนั้น มาตรการรักษาความสะอาดตามปกติ เช่น การเปิดบริเวณที่พักอาศัยให้มีอากาศถ่ายเทเป็นประจำ ก็จะควบคุมมลพิษที่มีอยู่ในระดับต่ำจนถึงระดับที่ต่ำมากเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว”

การประเมินความเข้มข้นของฝุ่นละออง สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย และสารบ่งชี้แบบกึ่งระเหยง่ายของควันยาสูบในสภาพแวดล้อมระหว่างการจำลองนั้น ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าไอละออง THS ในสภาพแวดล้อม มีความแตกต่างจากควันบุหรี่เผาไหม้อย่างมาก

“กล่าวโดยสรุปแล้ว การใช้ [THS] ในสภาพแวดล้อมในอาคาร ซึ่งมีการถ่ายเทของอากาศอย่างเพียงพอ จะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพอากาศในอาคารโดยรวม” นักวิจัยของโครงการนี้กล่าว

Click to rate this post!
[Total: 0 Average: 0]