Tobacco Harm Reduction Network (Thailand)

รวมบทความ ข่าวสาร งานวิจัย เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการลดสารพิษจากการสูบบุหรี่แบบมวน และลดมลพิษให้กับคนรอบข้าง

วิธีการลดอันตรายเป็นวิธีที่เหมาะสมหรือไม่ สำหรับผู้สูบบุหรี่ที่มีประวัติยากต่อการรักษา

ความคิดเห็น (บทวิจารณ์) เกี่ยวกับ งานวิจัยของ กิลลัวเมียร์ (Guillaumier) และคณะ (2020):

กิลลัวเมียร์ (Guillaumier) และคณะ ได้ทำการวิจัยผลกระทบจากการแทรกแซงการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กร (organizational change intervention) ที่มีต่อผลของการสูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ลงทะเบียนรับการรักษาอาการติดเหล้าและยาเสพติด (alcohol and other drug – AOD) ข้อเสนอวิธีการนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่ควรได้รับแรงผลักดันจากการเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กรอันเป็นวิธีที่น่าสนใจและแตกต่างจากวิธีการอื่นมากมายที่ส่วนใหญ่ตั้งเป้าไปที่ผู้ป่วยหรือผู้ให้บริการเป็นรายบุคคลและยังอาจไม่ใช้วิธีที่ใช้ตลอดไปภายในองค์กรนั้นๆ โดยการวิจัยนี้ได้ตั้งสมมติฐานว่าหากนำวิธีการเลิกสูบบุหรี่มารวมเข้ากับการรักษา AOD ด้วยทรัพยากรและการฝึกอบรมที่เพียงพอ ประโยชน์ที่ได้ (การเลิกสูบบุหรี่) อาจส่งไปถึงผู้ป่วยแต่ละราย แต่ทั้งนี้การทดลองแบบควบคุมกลุ่มสุ่มที่มีความซับซ้อนนี้ล้มเหลวที่จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในอัตราการเลิกสูบบุหรี่หรือความพยายามเลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ลงทะเบียนในโปรแกรมการรักษาเชิงทดลองและมีการควบคุมดังกล่าว แม้จะพบการลดลงของปริมาณบุหรี่ที่สูบต่อวันสำหรับผู้ป่วยในคลินิกที่ได้ทำการแทรกแซงก็ตาม แต่ความแตกต่างเชิงตัวเลขมีเพียงเล็กน้อย (15/16) และไม่เสมอไป ผลลัพธ์ที่สรุปไม่ได้เหล่านี้อาจทำให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้สึกถึงความผิดหวัง/พ่ายแพ้ ในทางกลับกันทีมงานของเราเชื่อว่ายังมีโอกาสสำคัญท่ามกลางความท้าทายนี้

 

ความเป็นจริงก็คือผู้สูบบุหรี่ที่ลงทะเบียนเข้ารับการรักษา AOD มีการสูบบุหรี่ในอัตราที่สูงแต่ไม่มีสัดส่วนตายตัว [2] และในขณะที่ผู้รับการรักษาหลายรายให้ความสนใจในการเลิกสูบบุหรี่ [3] แต่เข้าถึงการรักษาเพื่อเลิกสูบบุหรี่ได้น้อย และมีไม่กี่รายที่ประสบความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่ในช่วงการรักษาดังกล่าว [4, 5] ยิ่งกว่านั้นการสูบบุหรี่ยังถือกันว่าเป็นประโยชน์ในหมู่ผู้ที่อยู่ในช่วงเริ่มแรกของการเลิกดื่มสุราและยาเสพติด [6] หรือถือเป็นอันตรายน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสาร (สุราและยาเสพติด) ที่ทำให้ผู้ป่วยเหล่านั้นต้องเข้ามารับการรักษา [7] อุปสรรคที่มีมายาวนานในกลุ่มผู้รักษา AOD เหล่านี้ดูเหมือนจะจัดการได้ยาก เมื่อพิจารณาทุกสิ่งแล้วทีมงานของเราจะดำเนินต่อไปอย่างไร

 

อาจส่งผลที่จะพิจารณาถึงการรักษาที่เข้มงวดมากขึ้น แต่ท้ายที่สุดในฐานะนักวิจัยการเลิกสูบบุหรี่นั้นเป้าหมายของเราคือให้ข้อมูลการรักษาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่ให้มากที่สุดและลดอันตรายที่มาจากการสูบบุหรี่ให้เหลือน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามดังที่ได้เห็นในบันทึกการวิจัยที่ได้รวมวิธีการเลิกสูบบุหรี่ไว้ในการรักษา AOD นั้นประสบความสำเร็จได้ยาก โปรแกรมจำนวนมากดำเนินงานด้วยงบประมาณที่จำกัดโดยทีมแพทย์ที่ทำงานหนักเกินไปซึ่งอาจรู้สึกไม่พร้อมที่จะส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ตามหลักฐานวิชาการ และผู้ป่วยยังมีเรื่องต้องจัดการกับชีวิตที่ยุ่งยากต่างๆ มากมาย ความเครียดสะสม และภาระในการเลิกสุราและยาเสพติดที่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง จึงอาจเป็นไปไม่ได้ที่การรักษาที่เข้มงวดมากขึ้นนั้น (กล่าวคือ ในวิธีการเดียวกันแต่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น) จะมีผลกระทบที่แตกต่างออกไป

กลยุทธ์ต่างๆ ในวิธีการลดอันตราย (harm reduction) อาจมีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ กลยุทธ์เหล่านี้อาจรวมถึง (แต่ไม่จำกัดเพียง) (i) การลดปริมาณการสูบบุหรี่ (ii) การใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกยาสูบลดความเสี่ยง; หรือ (iii) กลยุทธ์การใช้ยา ทั้งนี้แม้วิธีการลดอันตรายจากยาสูบยังคงเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันอยู่ [8] แต่คุ่มค่าที่จะพิจารณาเป็นขั้นตอนสำคัญและผลักดันให้เกิด ความพร้อม แรงจูงใจ กำลังแห่งการมุ่งมั่น และการเลิกบุหรี่สำเร็จในที่สุด [9, 10]

 

ประการแรก การสูบบุหรี่ที่มีปริมาณลดลงอาจไม่เพียงเป็นขั้นตอนไปสู่สุขภาพที่ดีขึ้น [11] แต่ยังสนับสนุนการเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จในที่สุดในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่รักษาได้ยาก [12-15] แม้ว่าผู้สูบบุหรี่จำนวนมากอาจยึดติดในการวางเป้าหมายที่จะไม่สูบบุหรี่โดยสิ้นเชิงเท่านั้น ในขณะที่การลดปริมาณเป็นรูปแบบที่นุ่มนวลค่อยเป็นค่อยไปอาจจูงใจผู้สูบบุหรี่ที่ยังไม่พร้อมจะเลิกสูบบุหรี่โดยสิ้นเชิงได้มากกว่า และสามารถนำไปสู่การเลิกสูบบุหรี่สำเร็จในที่สุด ประการที่สอง ขอบเขตการพัฒนาอย่างรวดเร็วของผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่นๆ ได้เสนอทางเลือกที่มีอันตรายลดลงใหม่ๆ ให้กับผู้สูบบุหรี่ [16] เช่นเดียวกันกับการลดปริมาณการสูบบุหรี่ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีศักยภาพในการลดอันตราย (เช่น การรับสารพิษที่ลดลง) และสามารถส่งเสริมการเลิกบุหรี่ที่ปลายเหตุได้ [17] งานวิจัยในอนาคตควรประเมินประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ลดอันตรายเหล่านี้ ในขณะที่มั่นใจได้ว่าการเปลียนมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกนั้นไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายเพิ่มมากขึ้นหรือทำให้ภาวะพึ่งพานิโคตินเลวร้ายลง ประการสุดท้าย การใช้ยาที่มีภาระน้อย (เช่น การรักษาขั้นต้น 2 สัปดาห์ด้วยยาทดแทนนิโคติน) โดยไม่มีการให้คำปรึกษาอย่างเข้มงวดควบคู่เพื่อเพิ่มความพยายามในการเลิกสูบบุหรี่ หากแต่มีการฝึกอบรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่จำเป็น [18] ถึงแม้จะไม่เป็นวิธีการลดอันตรายด้วยตัวเองการใช้ยานับเป็นตัวอย่างของกลยุทธ์เชิงปฏิบัติที่สามารถกระตุ้นพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่แม้ในกลุ่มผู้ที่ไม่มีแรงจูงใจก็ตาม นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์วิธีการลดอันตรายอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถศึกษาต่อไปได้ เช่นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายลดลง [10] หรือวิธีการลดอันตรายควบคู่กับการห้ามสูบบุหรี่ ณ ศูนย์บำบัด บ้านพักอาศัย ฯลฯ ซึ่งอาจส่งเสริมการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จในที่สุด

 

วิธีการลดอันตรายจากยาสูบสำหรับผู้สูบบุหรี่ในการรักษา AOD ในการวิจัยดังกล่าวอาจทำให้บางคนรู้สึกไม่สบายใจเนื่องจากเนื้อหาใดๆ นอกเหนือจากการเลิกสูบบุหรี่ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพสาธารณะและถูกมองว่าเป็นการลดความคาดหวังในการเลิกสูบบุหรี่ที่ไม่เป็นธรรมในกลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติยากต่อการรักษา ทั้งนี้ทีมงานของเราไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ได้กล่าวมาโดยเชื่อว่าวิธีการลดอันตรายเป็นส่วนส่งเสริมและยังเป็นตัวเร่งให้เลิกสูบบุหรี่ และไม่เป็นการทดแทนการสูบบุหรี่ ซึ่งวิธีการลดอันตรายสำหรับผู้สูบบุหรี่ที่อยู่ในการรักษา AOD ไม่ได้ถูกยกเลิกเพราะพวกผู้ป่วยเหล่านี้สมควรได้รับโอกาสเดียวกันในการเลิกบุหรี่และปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้นเช่นบุคคลอื่นๆ แต่วิธีการลดอันตรายกับเป็นวิธีของการเคารพตนเองและจะเหมาะกับพวกเขาเมื่อพวกเขามีแรงจูงใจและพร้อมที่จะเลิกสูบบุหรี่ กลยุทธ์วิธีการลดอันตรายในผู้สูบบุหรี่กลุ่มนี้อาจเป็นจริงและปฏิบัติได้มากกว่าเพื่อลดความเสี่ยงที่มาจากการติดบุหรี่

 

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 5]