
อุรุกวัยเข้าร่วมในบัญชีรายชื่อของกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้า เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ด้วยการยกเลิกการห้ามนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน
องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูบบุหรี่มากกว่า 1 พันล้านคนในปี 2568 เป็นต้นไป ซึ่งบ่งชี้ว่ามาตรการควบคุมยาสูบซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้บุหรี่และกระตุ้นให้คนเลิกบุหรี่กำลังได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้ผลอย่างที่ควร ด้วยเหตุนี้ประเทศต่าง ๆ จึงคิดทบทวนนโยบายการควบคุมยาสูบแบบเดิม ๆ ด้วยการเพิ่มแนวทาง “ลดอันตราย” เพื่อนำเสนอให้ผู้ใหญ่ที่หากไม่มีทางเลือกอื่นก็จะยังคงสูบบุหรี่ต่อไป ให้มีทางเลือกซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพิสูจน์ ตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรมว่ามีอันตรายน้อยกว่า
สหรัฐฯ เป็นผู้นำในการสนับสนุน “กรอบการกำกับดูแลที่เหมาะสมสำหรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ” โดยใช้แนวทางวิทยาศาสตร์มาโดยตลอด โดยกำหนดให้ผู้ผลิตต้องยื่นคำขออนุญาตก่อนวางตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบ (PMTA) กับทาง FDA โดยจะต้องยื่นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์นั้นเหมาะสมสำหรับการปกป้อง สุขภาพของประชาชน กฎหมายของสหรัฐอเมริกายังอนุญาตให้ผู้ผลิตยื่นคำขอต่อ FDA เพื่อประเมินว่าจะอนุญาตให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบของตนเพื่อใช้เพื่อลดอันตรายหรือลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีอยู่แล้ว ในตลาดหรือไม่
ในทำนองเดียวกัน ในปี 2560 กรมอนามัยของสหราชอาณาจักรได้เปิดตัวแผนยาสูบระยะ 5 ปีสำหรับอังกฤษ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่ให้เหลือ 12 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2565 รัฐบาลยอมรับบทบาทของนวัตกรรมที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนในการมีส่วนช่วยให้ผู้สูบบุหรี่วัยผู้ใหญ่ เลิกบุหรี่โดยสิ้นเชิง และกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่พิจารณาใช้ทางเลือกอื่นที่เป็นอันตรายน้อยกว่า การตรวจสอบหลักฐานประจำปีครั้งถัดมาโดยสาธารณสุขอังกฤษได้ยืนยันถึงบทบาทสำคัญของผลิตภัณฑ์ทางเลือกในการทำให้ผู้ใหญ่ ห่างไกลจากบุหรี่ได้
ปัจจุบันนี้นโยบายการควบคุมยาสูบเชิงก้าวหน้าถูกนำมาใช้ในทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเกิดใหม่ ก่อนหน้าปี 2559 บุหรี่ไฟฟ้าเคยถูกสั่งห้ามหรือถูกห้ามอย่างเคร่งครัดในประเทศต่าง ๆ เกือบครึ่งหนึ่งของสหภาพยุโรป นับแต่นั้นมา หลาย ๆ อย่างก็เติบโตรุดหน้าและระบบความคิดก็ก้าวหน้ามากขึ้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้อุรุกวัยได้เปลี่ยนจาก “รัฐพี่เลี้ยง” ที่มีกฎหมายควบคุมยาสูบที่เข้มงวดไปเป็นรัฐก้าวหน้า โดยปล่อยให้ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือก ในปี 2548 รัฐบาลได้ประกาศชุดคำสั่งเพื่อลดการบริโภคยาสูบซึ่งส่งผลให้เกิดความพยายามยาวนานหลายทศวรรษในการเพิ่มกฎระเบียบในอุตสาหกรรมนี้อย่างมีนัยสำคัญ มาตรการเหล่านี้บางส่วนรวมถึงการห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่แบบปิดทั้งของสาธารณะและส่วนบุคคล การห้ามโฆษณาอย่างชัดเจน คำเตือนด้านสุขภาพที่เข้มงวดเพื่อห้าม “การค้า การนำเข้า การจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตร และการโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้า ในที่สุด เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ในการตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์ รัฐบาลอุรุกวัยได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนโดยตระหนักว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบมีอยู่โดยมี “ความเสี่ยงที่แตกต่าง” และหมายเหตุว่าอุตสาหกรรมนี้สามารถเข้ามามีบทบาทในการลดผลกระทบจากการสูบบุหรี่ได้ กฤษฎีกาฉบับใหม่ตระหนักถึงบทบาทของรัฐ ในการรับประกันสุขภาพของประชากร และแสวงหาเครื่องมือในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของยาสูบด้วยการเสนอทางเลือกที่อ้างอิงตามการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ญี่ปุ่นก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทราบกันดีว่ามีประชากรวัยผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่จำนวนมาก ในปี 2557 การเปิดตัวของผลิตภัณฑ์ทางเลือกแบบไม่เผาไหม้ในญี่ปุ่นช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ในตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน (HTP) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกลงได้เกือบหนึ่งในสามในระยะสามถึงสี่ปี ในขณะที่รัฐบาลไม่สามารถลดอัตราผู้สูบบุหรี่ได้มากนักจากการบำบัดด้วยนิโคตินทดแทน (NTP) อย่างไรก็ดี จากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบความร้อน (HTP) และด้วยกฎระเบียบเชิงก้าวหน้าทำให้ประเทศประสบความสำเร็จในการลดอัตราผู้สูบบุหรี่ ด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน ในรูปแบบที่ต่างออกไปเมื่อเทียบกับบุหรี่ อัตราการสูบบุหรี่ลดลงกว่า 30% ในระหว่างปี 2558-2562 การศึกษาโดยนักวิจัยที่ทำงานให้กับสมาคมโรคมะเร็งแห่งอเมริกาได้ตอกย้ำความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ HTP ด้วยการที่ยอดขายรวมของผลิตภัณฑ์ยาสูบทั้งหมดก็ลดลงด้วยเช่นกัน
ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่นและอุรุกวัยได้เปิดรับการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่บางประเทศต้องเผชิญกับการต่อต้านและการเล่นแบบผิดกติกาขององค์กรต่อต้านยาสูบระดับโลก องค์การอาหารและยา FDA ในฟิลิปปินส์ยอมรับถึงการมีอิทธิพลของต่างประเทศและยอมรับว่าตนว่าจ้างบุคคลในการร่างกฎระเบียบที่สนับสนุนการห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ HTP และบุหรี่ไฟฟ้าโดยใช้ทุนต่อต้านยาสูบจากกรณีที่องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศได้ยื่นมติสั่งให้คณะกรรมการ เพื่อการปกครองที่ดีและความรับผิดชอบต่อสาธารณะดำเนินการไต่สวนเกี่ยวกับการได้รับเงินทุนส่วนตัว “ที่น่าสงสัย” จากมูลนิธิบลูมเบิร์ก การเสื่อมเสียในครั้งนี้เผชิญกับปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรงจากผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขทั่วโลก ซึ่งตอกย้ำความจำเป็นที่หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องดำเนินงานโดยปราศจากการแทรกแซงหรืออิทธิพลใด ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิและสวัสดิการของผู้บริโภคจะไม่เกิดความเสียหาย
ประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศไทยยังคงใช้มาตรการควบคุมยาสูบที่เข้มงวดโดยไม่คำนึงถึงนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และทางเลือกทางวิทยาศาสตร์ ในช่วงปี 2548-2563 มีการบังคับใช้มาตรการควบคุมยาสูบ 15 มาตรการ ซึ่งรวมถึง การขึ้นภาษี 8 ครั้ง การห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและการห้ามโฆษณาอย่างครอบคลุม การสั่งห้ามบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิด และการใช้บรรจุภัณฑ์แบบเรียบง่ายไม่มีสีสัน จากการศึกษาของวารสาร BMC Public Health [1] [1] ในปี 2562 ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์แบบเปิดที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับเดียวกัน แม้ว่าประเทศไทยจะลดอัตราความชุกของการสูบบุหรี่โดยรวมจาก 23% เป็น 19% (พ.ศ. 2546-2560) แต่นโยบายยาสูบของประเทศยังไม่มีประสิทธิผลเพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายทั่วโลกองค์การอนามัยโลกในปี 2568 ที่ต้องการลดการบริโภคยาสูบลง 30% และยังเตือนให้เห็นถึงปัญหาจากการขยายตัวของการค้ายาสูบแบบผิดกฎหมายซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศอีกด้วย
ใกล้บ้านขึ้นมาหน่อย อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรสูบบุหรี่มากเป็นอันดับสองของโลก แม้ว่าความชุกของการสูบบุหรี่จะลดลงอย่างมากจากการสำรวจการใช้ยาสูบของผู้ใหญ่ทั่วโลก (GATS) แต่ก็ยังห่างไกลจากเป้าหมายข้อตกลงทั่วโลก ในการปกป้องประชากรจากการเสียชีวิตและความทุกข์ทรมานจากโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคไม่ติดต่ออื่น ๆ (NCD)
แม้กระนั้น ในปี 2562 รัฐบาลอินเดียก็ยังสั่งห้ามทางเลือกประเภทระบบบริโภคนิโคตินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ENDS) กฎหมายสั่งห้ามผลิตภัณฑ์ ENDS ห้ามการจัดทำ/การผลิต การนำเข้า การส่งออก การโอนย้าย การขาย การจัดจำหน่าย การเก็บสต็อกสินค้าและการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สองปีหลังการห้ามดังกล่าว การค้าแบบผิดกฎหมายเติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการตลาดของผลิตภัณฑ์ ENDS ในตลาดมืด และที่เลวร้ายที่สุดคือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ ENDS เปลี่ยนกลับไปบริโภคบุหรี่แบบเดิม ผลลัพธ์ที่ชัดเจนเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการประเมินอย่างเป็นรูปธรรมโดยหน่วยงานกำกับดูแลก่อนที่จะออกคำสั่งห้ามแบบครอบคลุม เพื่อให้ผู้บริโภคที่มีข้อมูลความรู้สามารถใช้เสรีภาพในการเลือกได้โดยมีทางเลือกอื่นที่เป็นอันตรายน้อยกว่าให้กับพวกเขา ตอนนี้ที่อินเดียกำลังพลาดโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในด้านสาธารณสุข
More Stories
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ควรให้ความสำคัญกับการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่าการห้ามสูบบุหรี่
แนวทางการลดความเสี่ยงในการควบคุมยาสูบ
FDA เปิดตัวเว็บไซต์ให้ความรู้เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า